...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 220-229
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 403
Download: 191
Download PDF
แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
The Guidelines for Conflict Management of Schools in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42
ผู้แต่ง
อัตถสิทธิ์ ดอชนะ, ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้งและหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 การดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู จำนวน 322 โดยการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มแบบเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงที่ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยการทำการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อประเมินแนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 โดยภาพรวมมีความขัดแย้งอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  มีความขัดแย้งสูงสุด คือ ปัญหาความขัดแย้งทางด้านสื่อสาร อันดับรองลงมา ได้แก่ ด้านปัญหาความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ปัญหาความขัดแย้งทางด้านความสัมพันธ์ ปัญหาความขัดแย้งทางด้านค่านิยม ปัญหาความขัดแย้งทางด้านโครงสร้าง ตามลำดับ 

2. แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 มีดังนี้

2.1 การจัดการความขัดแย้งด้านการสื่อสาร ได้แก่ ประชุม ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรให้เข้าใจในนโยบายการบริหารงานและทราบข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดตั้งผู้รับผิดชอบ
การตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น

2.2 การจัดการความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ได้แก่ กำหนดเกณฑ์การพิจารณาให้สอดคล้องกับส่วนกลางและเหมาะสมกับสถานศึกษา สถานศึกษาประกาศการใช้เกณฑ์พิจารณาความดีความชอบก่อน

2.3 การจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ ได้แก่ ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีการสร้างทีมงาน (Team Work) ผู้บริหารให้คำปรึกษา แนะนำในการทำงาน มีการกำหนดระบบงาน ความรับผิดชอบและสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีการมอบหมายที่เท่าเทียมกันและเหมาะกับความรู้ความสามารถ

2.4 การจัดการความขัดแย้งทางด้านค่านิยม ได้แก่ มีการกระจายอำนาจหน้าที่อย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเป็นกลาง เพื่อลดการประพฤติปฏิบัติตนอย่างไม่เท่าเทียมกันและเกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้หลักเหตุผล

2.5 การจัดการความขัดแย้งด้านโครงสร้าง ได้แก่ สถานศึกษาศึกษาข้อมูลด้านบุคลากรเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน นโยบาย พันธกิจ และเป้าประสงค์ ต้องมีความชัดเจน มีการประชุมผู้บริหาร ครู เพื่อมอบหมายงาน หน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ให้เหมาะสมตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษาให้หัวหน้าฝ่ายงานได้มีการสร้างทีมงานในการปฏิบัติงาน

Abstract

The objectives of this research were to study the state and to propose the guidelines for conflict management of schools in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42. The research comprised 2 stages: 1) Studying the current state of conflict management of schools in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42. The population were the school directors, deputy directors and teachers totaling 322 people by using proportion method. The sample size was set by using the table of Krejcie and Morgan. The research tool used was a 5-point rating scale questionnaire, with a reliability coefficient of 0.97. The statistics used were percentage, mean and standard deviation. 2) Proposing guidelines for the conflict management of schools in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42 by way of a focus group discussion of specialists and experts and content analysis of focus group findings.

The findings were as follows:

1. Overall, the current state of conflict management of schools in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42 was at the moderate level. The ranking from highest to lowest of the state of implementation, when considered under each aspect was as follows: Communication, Interest, Relationship, Values and Structural respectively.

2. The guidelines of conflict management of school in Nakhon Sawan under the Secondary Educational Service Area Office 42 were 1) Communication: should set a responsible person to monitor the data accurately regarding to the difference of personal perception. 2) Interest: should set the consistent criteria appropriately and announce to use before the results of consideration.  3) Relationship: should be good human relations, good working atmosphere, team working, consultancy, clearly command and assignment equally and suitably. 4) Values: should decentralize the duty throughout and should be a good example by using logic to explain all reasons so that the officers decrease sticking oneself to being self-centered. 5) Structural: should do the action plan, set the administrative structure, policies, missions and goals clearly, do the personnel meeting to delegate the suitable responsibility to the officers, have team working with good interpersonal and have a control system to supervise, guide and fix all the problem in time.

คำสำคัญ

ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง

Keyword

Conflict, conflict management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093