บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 โรงเรียน จำนวน 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .985 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F–test แบบ One-Way ANOVA ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการที่สูงขึ้น มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ชัดเจนแก่บุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรเพื่อสนับสนุนให้ครูจัดทำหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นที่เอื้อกับบริบทของสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ ควรส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีทักษะด้านการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีมาตรฐาน สนับสนุนให้ครูวัดผลเพื่อปรับปรุงผลการเรียนและตัดสินผลการเรียน อีกทั้งควรส่งเสริมให้ครูได้จัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางวิชาการของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และส่งเสริมการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร
Abstract
This research aimed: 1) to study the level of the academic leadership of the school administrators under Chaiyaphum Provincial Administration Organization (CPM PAO) toward the teachers’ opinions, 2) to compare the level of the academic leadership of the school administrators under CPM PAO toward the teachers’ opinions classified by school size, and 3) to study the suggestions for developing the academic leadership of the school administrators under CPM PAO. The samples were 234 teachers under CPM PAO in the academic year 2013 from 26 schools. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan’s Sample Size Table and stratified random sampling. The research instruments were a set of 5-rating scale questionnaires constructed by the researcher with the reliability of .985 and structured interview. The statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation and hypothesis was tested by using F -test (One Way ANOVA), the interviewed data using content analysis.
The research results were as follows:
1. The level of the academic leadership of the school administrators under CPM PAO toward the teachers’ opinions as a whole was at a high level. When considering each aspect, teaching and learning management had the highest mean scores. It was followed by curriculum administration and management and the lowest mean scores were learning resources development.
2. The results of the comparison of the academic leadership of the school administrators under CPM PAO toward the teachers’ opinions classified by school size as a whole and each aspect was significantly different at .05 levels except the aspect of learning resources development that was not different.
3. The suggestions for developing the academic leadership of the school administrators under CPM PAO were: The school administrators should develop themselves to be higher academic leadership, should promote the training on curriculum administration and management to the personnel so that they understand the implementation of the curriculum. That was to support the teachers to create the integrated curriculum and local curriculum that concerning the context of the schools. They should encourage the teachers to manage their learning and teaching to their potentiality and should support the teachers in conducting the standard measurement and evaluation tools. They should motivate the teachers to concentrate on formative and summative assessment and also support the teachers to create the learning resources in and out of the schools. They should engage with the academic network of each department and promote the morale of the teachers.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Academic Leadership, School Administratorsกำลังออนไลน์: 92
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,956
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,155
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093