บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 306 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .966 และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t–test แบบ Independent Samples ส่วนประเด็นการสนทนากลุ่ม ได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการวางแผน ด้านการพัฒนา ด้านการนิเทศภายใน กำกับ ติดตามผล และด้านการประเมินผล ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำคัญคือ ควรมีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และยึดหลักประชาธิปไตย ควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรพัฒนาตนเองด้านความรู้เรื่องสื่อ ICT ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรมีการจัดประชุมก่อนเปิดภาคเรียน ติดตามและพัฒนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา และควรส่งเสริมให้ครูจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลการสอนด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study teachers’ opinions toward the roles in supporting child-centered instruction of school administrators under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3. (CPM PESAO3). 2) to compare the role of the administrators under CPM PESAO3 in supporting child-centered instruction classified by school types. And 3) to study the suggestions for developing the roles of school administrators under CPM PESAO3 in supporting child-centered instruction. The samples were the 306 teachers under CPM PESAO3 in the academic year 2014. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table and then employed stratified random sampling. The research instruments were a set of 5-rating scale questionnaire with the reliability of .966 and focus group discussion issues. The statistics were mean and standard deviation and t-test (Independent Samples). Content analysis was employed to analyze the focus group discussion issues.
The research results revealed that:
1. The teachers’ opinions toward the roles in supporting child-centered instruction of school administrators under CPM PESAO3 overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean scores was the aspect of public relations. It was followed by the aspect of planning, developing, internal supervision, monitoring and following up, and evaluation, respectively.
2. The comparison on the level of the opinions toward the role of the school administrators under CPM PESAO3 in supporting child-centered instruction classified by types of schools found that there was no different.
3. The suggestions for developing the roles for school administrator are: they should manage their schools with the participation and democracy, should encourage teachers and staffs to develop their own knowledge about ICT, and should build a good relationship between schools and communities. There should be held the conference before starting the semester, follow and develop educational quality system. Teachers should have various tools to measure and evaluate their teaching.
คำสำคัญ
บทบาทของผู้บริหาร, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญKeyword
the Roles of School Administrators,Child-centered Instructionกำลังออนไลน์: 123
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,166
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,365
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093