...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2559
หน้า: 200-209
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 376
Download: 184
Download PDF
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Administration Based on Good Governance of Principal in Schools Under Loei Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อภิญญา นนทโคตร, สุชาติ บางวิเศษ, อุทัย ปลีกล่ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษาและขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือได้แก่ ข้าราชการครู เขต 2 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คนรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที (t – test) และสถิติทดสอบเอฟ (F – test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่าข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 

2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และขนาดของโรงเรียน พบว่า 2.1) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวม พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านโดยภาพรวม พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.3) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือโรงเรียนขนาดกลาง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

Abstract

ABSTRACT

The purpose of this research is to : 1) to study the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2, 2) to compare the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 according to the opinions of teachers and education personnel in schools under Loei  primary educational service area office 2. The sample size of this research was selected by using the table of Krejcie and Morgan. The sample consisted of 310 teachers and education personnel. The tool used for data collection was a rating scale questionnaire. The collected date was analyzed by means of an SPSS/PC program for windows, and the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The results of the study were:

1. The comparison the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 according to the opinions of teachers and education personnel was overall at high level.

2. The comparison of the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 classification by position, education and the school size were as follows;

2.1 The comparison of the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 classification according to the position, as a whole, the teachers and education personnel with different positions had different opinions on the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 were not different at .05 significant levels.

2.2 The comparison of the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 classification according to the education, as a whole and by aspect, the teachers and education personnel with different educations had different opinions on the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 were not different at .05 significant levels.

2.3 The comparison of the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 classification according to the school size, as a whole and by aspect, the teachers and education personnel with different school sizes had different opinions on the state of the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 was significantly different at 0.05 level. As the big school size had opinions about the administration based on good governance of principal in schools under Loei primary educational service area office 2 had an average was highest level,  the middle school size and the small school size had an average was lowest.

คำสำคัญ

หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

Good Governance Of Principal In Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093