บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 560 โรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ และผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียน 1 คน รวมจำนวน 1,120 คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลสูง จำนวน 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน และครู จำนวน 3 คน รวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการพรรณนาวิเคราะห์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ ความเบ้ ความโด่ง องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติดังนี้ c 2= 13.33, df =33, p = .99, RMSEA = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, SRMR = 0.0055, CN = 2297.59 ตัวแปรที่นำมาศึกษาในรูปแบบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กได้ร้อยละ 83
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก เรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้
2.1 อิทธิพลทางตรง มี 4 ปัจจัย คือภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร การจัดการความรู้ ความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 เท่ากับ 0.46, 0.31, 0.11 และ 0.05 ตามลำดับ
2.2 อิทธิพลทางอ้อม มี 3 ปัจจัยคือภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เท่ากับ 0.36 โดยผ่านการจัดการความรู้และความผูกพันต่อโรงเรียนของครู การจัดการความรู้มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผ่านความผูกพันต่อโรงเรียนของครู เท่ากับ0.06 และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ0.03โดยผ่านความผูกพันต่อโรงเรียนของครู
2.3 อิทธิพลรวม มี 4 ปัจจัย คือภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร การจัดการความรู้ ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.83, 0.37, 0.11 และ 0.08 ตามลำดับ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to study 1) to develop the linear structural relationship model of factors influencing the effectiveness of small school. 2) to validate the linear structural relationship model of factors influencing the effectiveness of small school. 3) to study the direct, indirect and total of factors influencing the effectiveness of small school .The sample was divided into 2 groups: The 1,120 samples for quantitative research consisted of 1 principal and 1 teachers from 560 schools under primary educational service area office in the northeastern region the 16samples for qualitative research consisted of 1 principal and 3 teachers from the 4 high effectiveness schools. The research instruments were a structured interview for qualitative data which analyzed by content analysis and descriptive analysis. Rating scale questionnaire was applied for quantitative data. The earned data were analyzed to obtain mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient. Data were analyzed by the computer with statistical package was used for the skewness, kurtosis, confirmatory factor analysis then tested the consistency between the hypothesis model and the empirical data. The results of
the study revealed that :
1. The linear structural relationship model of factors influencing the effectiveness of small school under primary educational service area office in the northeastern region was fitted with the empirical data. The final model showed the statistics as follows : Chi-square = 13.33, df =33, p-Value = .99, RMSEA = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, SRMR = 0.0055, CN = 2297.59, The studied variable could describe the variance with the small school effectiveness at 83 Percent.
2. The direct, indirect and total effects of the factors affecting of small school under primary educational service area office in the northeastern region were showed evidently according to the coefficient influence the standard as follows.
2.1 Direct effect consisted of 4 factors with the influence coefficient of Instructional leadership; knowledge management; school commitment of teachers; and constructive organizational culture with the statistical significance at .01level which the influencing coefficients the standard were 0.46; 0.31; 0.11; and 0.03 respectively.
2.2 Indirect effect consisted of 3 factors with the influence coefficient of Instructional leadership=0.36 with statistical significance at .01 level through knowledge management and school commitment of teachers. knowledge management = 0.06 level through school commitment of teachers. and constructive organizational culture = 0.03 level through school commitment of teachers.
2.3 Total effect consisted of 4 factors : with the influence coefficient of Instructional leadership; knowledge management; school commitment of teachers; and constructive organizational culture with the statistical significance at .01 level and the influencing coefficients the standard were 0.83; 0.37; 0.11; and 0.08 respectively.
คำสำคัญ
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก, รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นKeyword
Factors Affecting, Effectiveness of small schools, The linear structural relationship modelกำลังออนไลน์: 72
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,570
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,769
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093