บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน และประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน และเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 4) หาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 320 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกการส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ 0.27-0.96 มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และประสิทธิผลในการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28-0.97 มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้วิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson’s Product Moment Correlation
ผลการวิจัย พบว่า
1. การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานในโรงเรียน และประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานในโรงเรียน และประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานในโรงเรียน และประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ประการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสัมพันธ์กันทางบวก
4. ในการวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Abstract
ABSTRACT
This study aimed 1) to investigate the teachers’ participation in school administration and investigate the effectiveness in educational administration of schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23, 2) compare to the teachers’ participation in school administration and compare to the effectiveness in educational administration of school in the opinions of teacher of different sex, age, education level, working experiences and classified by school size, 3) to investigate the relationship between teachers’ participation and the effectiveness in educational administration of Schools under the Office of Secondary Educational Sevice Area 23, 4) establish the guideline for developing the teachers’ involvement in school administration for effectiveness in educational administration of school. The sample groups, obtained through a multi-stage sampling teachnique, were a total of 320 teachers from school under the Office of Secondary Educational Sevice Area 23 in 2015 academicyear. The research instrument was a set of questionnaires.The discrimination of the teachers’ participation in school administration was between 0.27-0.96 and the reliability was 0.95 and the discrimination of the effectiveness in educational administration of schools was between 0.88-0.97, the reliability was 0.93. The statistic employed to analyze the data were percentage, mean, standard deriation (S.D.), t-test, F-test(One way ANOWA) and Pearson’s Product Moment Correlation.
The findings of this study were as follws :
1. The teachers’ participation in school administration and the effectiveness in educational administration of schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23 was rated, as a whole, at the a hight level.
2. The teachers’ participation in school administration and the effectiveness in educational administration of school in the opinions of teacher of different sex, age, education level, working experiences and classified by school size, was different at the .05 level of significance.
3. There was a positive relationship between teachers’ participation and the effectiveness in educational administration of Schools under the Office of Secondary Educational Sevice Area 23.
4. In the research, researcher also proposed the way to develop the teachers’ involvement in school administration for effectiveness in educational administration of school
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม, การบริหารงานโรงเรียน, ประสิทธิผลKeyword
Participation, Administration of schools, Effectivenessกำลังออนไลน์: 276
วันนี้: 1,387
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,973
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093