บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน 3) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2,187 คน จาก 45 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F–test (One–Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน และด้านปัจจัย
2. ปัญหา การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน
3. ประสิทธิผล การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน และด้านปัจจัย
4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน พบว่า สภาพ ปัญหา และประสิทธิผล โดยภาพรวมแล้วไม่แตกต่างกัน
5. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่า สภาพ ปัญหา โดยภาพรวมแล้ว ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสิทธิผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน พบว่า สภาพ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหา และประสิทธิผล โดยภาพรวมแล้ว ไม่แตกต่างกัน
7. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย สภาพการดำเนินงาน มี 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน ปัญหาการดำเนินงาน มี 1 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ส่วนประสิทธิผล มี 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน
Abstract
ABSTRACT
This research intended to : 1) The study conditions, problems and effectiveness standard of school assistance system for students. 2) The comparative the comments administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers, the status of the different positions, the experienced in working differently, the working in schools with of different sizes. 3) The development standard of school assistance system for students. The population of research was the administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers under the office of education service area 23, Semester one the academic year 2557, the number of 2187 people from 45 schools. The samples used in the study was those involved with administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers under the office of education service area 23, Semester one the academic year 2557, the number of 325 people. The instrument used for data collection was a questionnaire the rating scale 5-level. The statistics used in the analysis the data was percentage, mean, standard deviation. Test the analysis using F-test (One-Way ANOVA).
The findings were as follows :
1. The conditions standard of school assistance system for students. The overall an average was at high level. When sorted from the descending follows : the process, the quality of students and the factors.
2. The problems standard of school assistance system for students. The overall an average was at low level. When sorted from the descending follows : the process, the factors and the quality of students.
3. The effectiveness standard of school assistance system for students. The overall an average was at high level. When sorted from the descending follows : the process, the quality of students and the factors.
4. The administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers. The comment classified by the status of the different positions was the conditions, problems and effectiveness, the overall not different.
5. The administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers. The comment classified by the experienced in working differently was the conditions, problems , the overall not different. The effectiveness difference was statistically a significant level .01.
6. The administrators of school, the teacher responsible standard of school assistance system for students and the teachers. The comment classified by working in schools with of different sizes was the conditions overall the difference was statistically a significant level .05. The problems and effectiveness the overall not different.
7. The development guidelines standard of school assistance system for students should be developed consist of : the operation conditions has two aspects was the factors and the quality of students. The operation problems has one aspects was the process. The operation effectiveness has two aspects was the factors and the quality of students.
คำสำคัญ
เกณฑ์มาตรฐาน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนKeyword
Standard, Student Supporting Systemกำลังออนไลน์: 129
วันนี้: 1,229
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,815
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093