บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเพียงหลวง 10 และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเพียงหลวง 10 ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้วิจัย 4 คน ประกอบด้วย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
1.1 สภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูผู้สอนบางส่วนไม่เคยได้รับการอบรมในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน หรือผ่านการอบรมแต่ยังไม่เข้าใจ ครูผู้สอนมีจำนวนน้อย สำหรับครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงานก็กระทำโดยมอบหมายให้นักเรียนไปทำงานส่งในแต่ละภาคเรียน แต่ไม่ได้ให้คำปรึกษา หรือทำการสอนแบบโครงงานนอกเวลาเรียนในบางส่วนและจัดการเรียนรู้แบบบรรยายทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการศึกษา การจัดการเรียนรู้ของครูผู้จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการ ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูพบว่าครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ขาดความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ ไม่ได้รับการอบรมและขาดการนิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่โรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศการจัดการเรียนรู้ ในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาการนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานค่อนข้างดี โดยมี ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.33 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 66.65 หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.65 คิดเป็นร้อยละ 93.35 ด้านการเขียนแผน การจัดการเรียนรู้ พบว่า มีผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างดี ซึ่งยังไม่เป็นผลที่น่าพอใจของผู้ร่วมวิจัย และผู้บริหารจึงนำไปพัฒนาเพิ่มเติม ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ อยู่ในระดับดี และด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำโครงงานได้อยู่ในระดับดี
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to1) investigate the current states and the development of the teachers’ in the project-based learning management at Phiang Luang 10 School under the office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, 2) find out the development of the teachers’s potentiality’ in the project-based learning management at Phiang Luang 10 School, and 3) monitor the development of the teachers’ competence in the project-based learning management in the school. This study employed two spirals of a four-stage participatory action research process comprising planning, action, observation, and reflection. The population consisted of the research group including the researcher and 4 co-researchers along with 21 respondents. Instruments used were a form of interview,a test, a form of observation as well as a form of assessment. The statistics applied for analyzing quantitative data were percentage, mean, standard deviation and Percentage of progress. Content analysis was employed to analyze qualitative data in forms of content classification and descriptive analysis.
The findings of this study were as follows:
1. The effects of the investigation on the current states and problems in the project-based learning were:
1.1 The current states of the management of the project-based learning indicated that most of the teachers were never trained in the project-based learning. for those who applied the project-based learning, they did it through the assignment of works as homework to be done for the period in each semester but without recommendations. The majority of the teachers employed the lecture-style teaching making the learners lack educational opportunities through the search for knowledge from diverse learning resources. The teachers’ learning management was inconsistent with the learners’ needs, expertise and individual difference.
1.2 The current problems on the project-based learning revealed that the majority of the teachers faced a lack of knowledge, understanding, self-confidence in managing the learning because they were not provided with trainings as well as supervision on the project-based learning.
2. The guidelines of the development of the teachers’ competency in the project-based learning management at Phiang Luang 10 School in the first spiral employed 2 means of development including 1) a workshop, 2) supervision on the project-based learning. In the second spiral, the development means on the project-based learning management of the amicable supervision was applied.
3. The effects of the development of the teachers’ potential in the project based learning management at Phiang Luang 10 School indicated that before the study was conducted all of the co-researchers obtained quite low knowledge and understanding concerning the project-based learning management in the first spiral with average score of 13.33 out of 20 or 66.65 percent. After the conduction of research, the co-researchers gained higher knowledge and understanding of 18.65 or 93.35 percent. However, the teachers’ lesson plan writing with more quality was at the higher level. In terms of learning management applied efficiently through the project-based method, it was determined that the teachers gained more self-confidence and could manage the learning procedures efficiently affecting the students’ knowledge and understanding to conduct project. The evaluation effects were at the high level.
คำสำคัญ
การพัฒนา ,ศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานKeyword
Development, Potential of Teachers, Project- based Learning Managementกำลังออนไลน์: 73
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,390
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,589
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093