บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทีมในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test , F-test (One-Way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีที่ตั้งในจังหวัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
8. ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีที่ตั้งในจังหวัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
9. ภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10. อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน พบว่า ภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านตัวผู้นำ ด้านสมาชิกทีมด้านงาน และด้านทีมงาน มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
11. งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านตัวผู้นำ ด้านสมาชิกทีม ด้านงาน และด้านทีมงานต่างกันอย่างไร
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate, compare and find out relationship and predictive power of school directors’ team leadership affecting effectiveness in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22, and establish the guidelines for developing team leadership of directors’ performance affecting school effectiveness in the 2014 academic year. The samples consisted of 324 persons. A tool for data collection was a rating-scale questionnaire. Statistics employed in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The team leadership of school directors, as a whole and in each aspect, was at a high level.
2. The school effectiveness, as a whole and in each aspect, was at a high level.
3. Team leadership of school directors as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers, as a whole, was different at the .01 level of statistical significance.
4. School effectiveness as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers were different at the .01 level of statistical significance.
5. Team leadership of school directors as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers, classified by school size, as a whole and in each aspect, was different at the .01 level of statistical significance.
6. School effectiveness as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers, classified by school size, as a whole and in each aspect, was different at the .01 level of statistical significance.
7. Team leadership of school directors as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers, classified by school location, as a whole and in each aspect, showed no difference.
8. School effectiveness as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers, classified by school location, as a whole and in each aspect, showed no difference.
9. Team leadership of school directors, as a whole and in each aspect, had the positive relationship with school effectiveness at the .01 level of statistical significance.
10. The predictive power of team leadership of school directors as perceived by school directors, deputy directors, heads of subject group and teachers revealed that all four aspects of team leadership of school directors in terms of leader, team member, task, and team obtained the predictive power of school effectiveness at the .01 level of statistical significance.
11. The researcher also proposed the guidelines for developing team leadership of school administrators comprising: leader, team member, task, and team.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทีม, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Team Leadership, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 1,198
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 64,203
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093