...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2559
หน้า: 87-96
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 264
Download: 189
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของ โรงเรียนชุมชนเอื้องก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2
Teachers’ Competence Development in Learning Management to Solve Students’ English Reading and Writing Problems at Chumchon Ueang Ko Nadi School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
ปริญญา ปากดี, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาการหาแนวทางและติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการแก้ปัญหาในด้านการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเอื้องก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มผู้วิจัยมีจำนวน 9 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 52 คน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาคือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกต และแบบบันทึกการนิเทศ ติดตามและการประเมินผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน พบว่า 

1.1 ด้านสภาพ ครูจำนวน 9 คนที่สอนวิชาภาษาอังกฤษส่วนใหญ่สามารถจัดการเรียนรู้ สามารถเขียนแผนการเรียนรู้ได้แต่ยังมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร 

1.2 ด้านปัญหา ครูมีปัญหาด้านการสอนอ่านและการออกเสียงภาษาอังกฤษ ตลอดจนการสอนเขียนภาษาอังกฤษเนื่องจากไม่ได้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ     

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน มี 4 แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การดำเนินการจัดการเรียนรู้ 4) การนิเทศติดตามผล

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ของกลุ่มผู้วิจัยจำนวน 9 คน พบว่า

3.1 ครูมีความรู้และความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยก่อนการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 2 คน สามารถเขียนแผนได้ถูกต้องครบถ้วน หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 9 คน สามารถเขียนแผนได้ถูกต้องครบถ้วน

3.2 การดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 30 แผน ไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษในวงรอบที่ 1 จำนวน 25 คน

3.2.1 ก่อนการพัฒนานักเรียนอ่านภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง จำนวน 7 คน (คิดเป็นร้อยละ 28) หลังการพัฒนานักเรียนอ่านได้ถูกต้อง 19 คน (คิดเป็นร้อยละ 76)

3.2.2 ก่อนการพัฒนานักเรียนเขียนภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง จำนวน 5 คน (คิดเป็นร้อยละ 20) หลังการพัฒนานักเรียนเขียนได้ถูกต้อง 18 คน (คิดเป็นร้อยละ 72)

3.3 การดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษในวงรอบที่ 2 พบว่านักเรียนทั้ง 25 คน สามารถอ่าน และเขียนภาษาอังกฤษได้ถูกต้องทุกคน

Abstract

ABSTRACT

The objectives of this action research were to investigate the states, problems, establish guidelines and monitor and evaluate the development of English teachers’ competence in solving students’ English reading and writing problems at Chumchon Ueang Ko Nadi School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The participants were a group of co-researchers consisting of nine teachers and a second group of 52 informants. The target group involved 25 students from Prathomsuksa 4 to 6 with English reading and writing problems. The instruments used for data collection comprised a meeting form, a set of questionnaire, a test, a structured interview form, a satisfaction form, an assessment form of learning management plan, an observation form and a supervision form for monitoring and evaluation. Mean, percentage and standard deviation were employed for quantitative data analysis.  Content analysis was analyzed and classified to be presented in forms of descriptive analysis. The results of the research were presented in analytical description. 

The findings of the study were as follows:

1. The states and problems on learning management to solve students’ English reading and writing problems revealed that:

1.1 In terms of states, all nine English teachers were able to cope with learning management, and write lesson plans. However, the quality of written lesson plans created was not yet good enough.

1.2 In terms of problems, the teachers had difficulty in teaching English reading, pronunciation and writing because the teachers did not hold academic certificates in English major programs.

2. The guidelines for developing teachers’ competence involved four means: 1) a best practice visit, 2) a training workshop, 3) a learning management implementation, and 4) a supervision and Follow up.

3. The effects after the intervention were:

3.1 All nine teachers were able to complete accurate and detailed lesson plans at the end of the intervention period, whereas only two of the teachers did complete accurate and detailed lesson plans at the pre-intervention period.

3.2 In the first spiral, the 30 written lesson plans were implemented with 25 students. The findings revealed that:

3.2.1 Before the intervention, seven students were able to read the English provided correctly (28 percent), whereas after the intervention 19 students were able to read the English provided correctly (76 percent).

3.2.2 Before the intervention, only five students were able to write English within the lesson plans’ limitations correctly (20 percent), whereas after the intervention 18 students were able to write English correctly (72 percent).

3.3 In the second spiral, after the intervention, all students were able to read and write English within the lesson plans’ limitations correctly.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้, ปัญหาด้านการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ

Keyword

Teachers’ Competence Development, Learning Management, English Reading and Writing Problems

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093