บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ โดยสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน
6. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
7. แนวทางพัฒนาที่เหมาะสมในการพัฒนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส
Abstract
ABSTRACT
The purpose of this research was to examine administration in accordance with good governance of administrators in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The samples, obtained through multi-cluster random sampling technique, were a total of 340 school administrators, teachers and chairs of the school committee. The research tool for data collection was a 5-point rating scale questionnaire with a reliability of .98. A set of questionnaire was utilized to obtain the required data concerning school administrators’ administration in accordance with good governance. Percentage, mean, standard deviation (S.D.), and analysis of One Way ANOVA were used to analyze the data.
The findings were as follows:
1. The administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, as a whole was at a high level.
2. There was no significant difference in the administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, classified by gender.
3. The administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, classified by status, was statistically significant at .05 level of difference.
4. There was no significant difference in administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, classified by education qualifications.
5. There was no significant difference in administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, classified, classified by working experiences.
6. There was no significant difference in administration in accordance with good governance of school administrators in schools under the Primary Educational Service Area 1, classified by school size.
7. The appropriate guidelines for developing school administrators based on administration in accordance with good governance in terms of The Rule of Law, Morality, and Transparency.
คำสำคัญ
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Good Governance, School Administratorกำลังออนไลน์: 57
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,370
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,569
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093