...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2559
หน้า: 58-67
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 357
Download: 172
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Relationship between Teachers' Participation and Effectiveness of Academic Affairs in Schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
ปานดวงใจ แฮนเกตุ, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ และขนาดของโรงเรียน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน จำนวน 344 คน แยกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 86 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ 86 คน ครูผู้สอน 172 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า

1. การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลงานวิชาการของครูในโรงเรียน จำแนกตามสภาพการดำรงตำแหน่ง เพศ และขนาดของโรงเรียน ปรากฏผล

2.1 การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

2.2 การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการ และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามเพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

2.3 การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการ และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูกับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการยกระดับประสิทธิผลงานวิชาการ ของโรงเรียนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม

Abstract

ABSTRACT

This study aimed to investigate teachers’ participation and effectiveness of Academic Affairs in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, classified by respondents’ status, and to explore relationship between teachers’ participation and school effectiveness in terms of academic affairs. The school size designation was done through Krejcie and Morgan’s Table. Samples consisted of 86 school administrators, 86 heads of academic affairs, and 176 teachers through a multi-stage random sampling technique. A set of questionnaire was utilized for data collection.

The findings of this study were as follows:

1. The mean scores of teachers’ participation in managing the academic affairs and effectiveness in terms of school academic affairs, as a whole, was at a high level.

2. The comparison between teachers’ participation in the academic affairs management and effectiveness in terms of school academic affairs, classified by position attained, gender, and school size, revealed that:

2.1 The teachers’ participation in managing academic affairs and effectiveness in terms of school academic affairs, classified by position attained, as a whole, was not significantly different.

2.2 The teachers’ participation in managing academic affairs and effectiveness in terms of school academic affairs, classified by gender, as a whole, showed no significant differences.

2.3 There were no significant differences between teachers’ participation in managing academic affairs and effectiveness in terms of school academic affairs, classified by school size.

3. The teachers’ participation in academic affairs management and effectiveness in terms of school academic affairs gained positive relationship at the .01 level of statistical significance.

4. The guidelines for upgrading effectiveness of school academic affairs in terms of lower-scoring aspects were proposed, namely academic affairs planning, school instructional management, school curriculum development, research for developing school education quality, educational supervision, community promotion on academic affairs strength, academic promotion and support to individual, family, organization, agency, workplaces, and other educational institutions, regulations and practice guidelines, and educational development and application of technology.

คำสำคัญ

การมีส่วนร่วมของครู, ประสิทธิผลงานวิชาการ

Keyword

Teachers’ Participation, Effectiveness of Academic Affairs

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093