...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2559
หน้า: 23-34
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 359
Download: 176
Download PDF
การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการการศึกษาของประเทศบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก: ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย
A Comparative Study of Education Management of East-West Economic Corridor’s Countries : Lao People’s Democratic Republic, the Socialist Republic of Vietnam and Thailand
ผู้แต่ง
ไชยา ภาวะบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความคาดหวัง 2) เปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และความคาดหวัง จำแนกตาม เพศ ประเทศ และสถานภาพ 3) หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และนักเรียน/นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 100 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 100 คน และนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 300 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t – test ชนิด Independent Samples และ F – test

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาการจัดการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความคาดหวังต่อการจัดการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. เปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษา จำแนกตาม เพศ และประเทศโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม สถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01  

3. เปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษา จำแนกตาม เพศ และสถานภาพโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ประเทศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  

4. เปรียบเทียบความคาดหวังต่อการจัดการศึกษา จำแนกตาม เพศ และประเทศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตาม สถานภาพ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  

5. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

5.1 ด้านการบริหารจัดการ ควรการบริหารจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติและสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละประเทศ

5.2 ด้านหลักสูตร ควรพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ สร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน 

5.3 ด้านบุคลากร ควรพัฒนาจากความต้องการของอาจารย์ผู้สอน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน ต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล   

5.4 ด้านผู้เรียน ควรพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม 5.5 ด้านระบบการเรียนการสอน ควรยึดผู้เรียนเป็นหลักให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านความรู้ คุณธรรม และทักษะกระบวนการ 5.6 ด้านอาคารสถานที่ ควรปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆ ให้มีความแข็งแรง คงทน ปลอดภัย 5.7 ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ควรมีงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนา งานด้านหลักสูตร งานด้านบุคลากร พัฒนาคุณภาพผู้เรียน การเรียนการสอน อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ อุปกรณ์และเทคโนโลยี  5.8 ด้านแหล่งสารสนเทศ ควรใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติ 5.9 ด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน งานวิชาการ และบริการสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา

Abstract

ABSTRACT

The purposes of the study were: 1) to study the environments, problems and expectations; 2) to compare the environments, problems, and expectations classified by gender, countries and status; 3) to investigate the guideline on developing the quality management as the administrators, instructors and students’ perspective. The samples comprised 100 administrators, 100 instructors and 100 students in total of 300. Simple Random Sampling technique and rating scale questionnaire were used to  collect the data and were analyzed by computing percentages, means, standard deviation (S.D.), the tested of t-test in type of Independent Samples and f-test.

The findings were as follows:

1. The state of educational management generally were at good level. The problems of educational management totally were at fair level. And The expectations to educational management were at good level.

2. The compartive state of educational management classified by gender and countries were similarity.  classified by status entirely differences in statistically significant at the .01 level. And classified by gender and status totally were similarity.

3. The comparative problems of educational management classified by gender country and status were not different entirely differences in statistically significant at the .05 level, classified by gender and status completely were similarity.

4. The comparative perspective to educational management classified by gender and country completely differences in statistically significant at the .01 level. And classified by status entirely were similarity.

5. the guidelines  to develop the quality of educational management as follows :

5.1 For the management, should manage the education for youth to receive a standard quality of country education and consistency with needs of each country.

5.2 For curriculum, should develop in instruction; giving amusement, enjoyment, courage and motivation to learners. Hence, learners will have highest knowledge of each person.

5.3 For personnel, should develop needs of instructors and lead the learners to various types of each person.

5.4 For learners, should develop in discipline, leadership, supporter, responsibility, cooperation, problems solving and appropriate dicision making.

5.5 For instruction, should hold in learners-center to study in good quality of knowledge, morality and process skills.

5.6 For buildings and grounds, should renovate for safety and durability.             

5.7 For researches and creative projects, should produce creative projects to develop curriculum, personnel, learner’s quality, learning system, buildings and grounds, learning resource, technology and instruments. 5.8 For information center, should have centerห for activities instruction, skills practicing, thinking process, analysis, observation, data collecting and performing. 5.9 For instruments and technology, should use technology for administration in academic affairs and educational media and information technology services.

คำสำคัญ

การจัดการการศึกษา, ประเทศบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

Keyword

Education Management, East-West Economic Corridor’s Countries

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093