...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 114-120
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 325
Download: 188
Download PDF
ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Problems and Guideline for Academic Management Development In Nakhon Phanom Education Service Area 2
ผู้แต่ง
พรพรรณ คำลือ, ปรีชา คัมภีรปกรณ์, วีระวัฒน์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ ครู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย (ar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ t-test และ F-test (One way ANOVA) ส่วนการหาแนวทางพัฒนาใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย

2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียนต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่

4.1 ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ มีแนวทางการพัฒนา คือ ประชุมบุคลากรในการวางแผนงานด้านวิชาการ มอบหมายภาระงานความรับผิดชอบให้ชัดเจน ศึกษาองค์กรที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีการกำกับติดตามการทำงานของบุคลากร

4.2 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีแนวทางการพัฒนา คือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการอบรมให้ความรู้ในด้านการวิจัยให้แก่บุคลากร มอบหมายให้บุคลากรทุกคนทำวิจัยในชั้นเรียน นิเทศ กำกับ ติดตาม การทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากร, ศึกษาดูงานหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ

4.3 การนิเทศการศึกษา มีแนวทางการพัฒนา คือ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการนิเทศ ใช้รูปแบบการนิเทศหลากหลายรูปแบบ ศึกษาดูงานหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ อบรมเชิงปฏิบัติการ ประเมินผลการนิเทศ

 

Abstract

This research aimed to examine the opinions about the problems and the guidelines for developing academic affairs administration in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The samples consisted of 327 people including school administrators, heads of academic affairs, and teachers in the academic year 2015. The instrument for collecting the data was a rating scale questionnaire with the reliability of 0.903. The statistics for data collection were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test (One-Way ANOVA). Interview data was collected by means of qualitative expert interviews to establish the development guidelines.

The results of this study were:

1.The problems of academic affairs administration in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 as a whole was at a low level.

2. The problems of school academic affairs administration as perceived by administrators and teachers with different positions as a whole were not different.

3. The problems of school academic affairs administration as perceived by administrators and teachers with different work experience as a whole were not different.

4.The guidelines for developing academic affairs administration in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 comprised three aspects needing improvement.

4.1 Academic Affairs Plans. The development guidelines should involve personnel meetings for planning academic affairs, clear work assignment of responsibility, examining the best-practice of other organizations, and performance monitoring.

4.2 Research for Developing Education Quality. The development guidelines should involve a training workshop on research knowledge for personnel, assignment of individual classroom research, supervision, monitoring, follow-up, conducting classroom research, and visiting successful organizations.

4.3 Educational Supervision. The development guidelines should involve having a meeting to identify supervision objectives, implementing a wide range of supervision, visiting successful organizations, attending a training workshop, and evaluation in supervision.

คำสำคัญ

ปัญหาการบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษา

Keyword

Academic Affairs Administration, Primary Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093