...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 103-113
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 266
Download: 175
Download PDF
สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
State and developmental guidelines for Preschool education in schools under the Office of Primary Education 1
ผู้แต่ง
ผกามาศ มาตย์เทพ, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 49 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการจำนวน 49 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 94 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัยจำนวน 94 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 49 คน ปีการศึกษา 2560 รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 284 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejeie and Morgan) และใช้การสัมภาษณ์ตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยกำหนดขนาดโรงเรียนเป็นชั้น (Strata)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง

3. สภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่กำหนดตามสถานภาพไม่แตกต่างกัน

4. สภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครองควรมีการพัฒนา 5 ด้านของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา และผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาในเรื่องนี้

Abstract

The purposes of this research were to compare and establish the guidelines for developing early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The 248 samples consisted of 49 school administrators, 49 heads of academic affairs, 101 teachers and 101 parents under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with discrimination index between .24-.97 and the reliability of .95. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), and F-test (One way ANOVA).

The results of this research were as follows:

1. The conditions of early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 was at a high level.

2. The problems of early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 were at a moderate level.

3. The conditions and problems of early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1classified by status were not different.

4. The conditions and problems of early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1classified by school sizes were significantly different at the .01 level.

5. The guidelines for developing early childhood education management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 were proposed and fell into five aspects: Supportive learning environment, Integrated learning, Assessment for learning, Student development activities, and Teacher parent relationship. The researcher also proposed the development guidelines.

คำสำคัญ

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

Keyword

Early Childhood Education Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093