บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานนิเทศการสอนและการพัฒนาตนเองของครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้จิตศึกษาร่วมกับระบบพี่เลี้ยง ในโรงเรียนบ้านด้ามพร้า จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหาร ครูนิเทศก์ประจำโรงเรียน และครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการเรียนรู้ ผลการวิจัยการดำเนินการนิเทศการสอน พบว่า ด้านการนิเทศการสอน มีการเตรียมการก่อนการสังเกตการสอน โรงเรียนมีการแต่งตั้งทีมครูที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นผู้สังเกตการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วยครูนิเทศก์ประจำโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีการแจ้งวันเวลาก่อนการสังเกตการสอนและมีการสังเกตการสอนเดือนละ 2 ครั้ง โดยครูและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจะออกแบบแผนร่วมกันและมีอาจารย์นิเทศก์ประจำสถาบันร่วมพิจารณาแผนก่อนใช้จริงในชั้นเรียนอีกครั้งหนึ่ง ก่อนสอนจริง 2 สัปดาห์และใช้เครื่องมือในการสังเกตการสอน จากนั้นกลับมาสะท้อนบทเรียนร่วมกัน พบว่า การใช้จิตศึกษาและระบบพี่เลี้ยงมาใช้ในการนิเทศการสอนของครูพี่เลี้ยง ทำให้ครูรู้จักทบทวนตนเองในสิ่งที่ตนเองกระทำต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รับฟังนักศึกษามากขึ้น มีการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการงานวิชาชีพครู ด้านการพัฒนาตนเองของครู พบว่า จากผลการติดตามโดยใช้จิตศึกษาร่วมกับระบบพี่เลี้ยง เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( =2.73, SD. = 0.20) ครูที่ได้รับการพัฒนาตามระบบครูพี่เลี้ยงครบทั้ง 3 ระยะ จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดความชำนาญด้านการสอน ซึ่งครูพยายามที่จะใช้ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่กำหนดไว้ในปฏิทิน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในการจัดการเรียนการสอนของตนเองอยู่เสมอ ด้านคุณลักษณะและเจตคติ พบว่า การใช้จิตศึกษาและระบบพี่เลี้ยงเป็นเครื่องมือที่สนับสนุน ส่งเสริม ทำให้ครูพัฒนาตนเองทั้งคุณลักษณะและเจตคติของครูเพื่อศิษย์ เพราะจะทำให้ครูประเมินตนเองอยู่เสมอ จากการทำกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณลักษณะและเจตคติ ซึ่งครูส่วนใหญ่พัฒนามาจากการได้รับฟังความคิดเห็นอย่างเปิดใจ
Abstract
This research aims to study supervision approaches and self-development of mentoring science teachers by using jitasuksa and mentoring system in Bandamphra School Ubon Ratchathani. The target group is school administrators and six science teachers. Research tools; the questionnaire, interviews and learning logs.
The results of the research were as follows. Teaching supervision preparation before observation. The school has appointed a team of teachers in the field of science to observe the teaching of the students practicing professional experience. It consists of school teachers, all mentors are in the science group. There are two days notice before the observation and two times a month. By teachers and students, professional experience teachers will design a common plan. There is an advisor in the classroom to take a second look at the actual plan before actually teaching and using the observation instructor then return to reflect on the lesson. It was found that the use of psychological education and a mentoring system were used to supervise teachers' teaching by listening more to students. Positive psychology is used to provide advice and counseling about teacher professional practice. The self-development of the teachers found that the average follow-up of mentoring system was very good. ( =2.73, SD= 0.20) The teachers who have been developed by the three teachers will have the knowledge and understanding of teaching. Teachers try to use the professional learning community defined in the calendar. Since it is a learning area they are always ready to correct their own problems. It was found that the use of mental education and mentoring systems was a supportive tool. Teachers develop their own characteristics and attitudes to teachers. It will always make teachers self-assessments from the PLC activities to improve the features and attitudes. Most teachers develop from open minded listening.
คำสำคัญ
จิตศึกษา, ระบบพี่เลี้ยงKeyword
jitasuksa, mentoring systemกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,714
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,913
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093