บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ กับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยจำแนกตามสถานภาพวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ จำนวน 117 คน และครูที่ไม่ได้สำเร็จวิชาเอกภาษาอังกฤษแต่สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 117 คน รวมประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน จากโรงเรียน 117 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product- Moment Correlation) และวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแต่ละขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) และ ทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ต่อปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำแนกตามสถานภาพวิชาเอก พบว่า โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ต่อปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำแนกตามประสบการณ์สอน พบว่า โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
4. เปรียบเทียบระดับปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
5. การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
6. ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำแนกตามสถานภาพวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำแนกตามประสบการณ์สอน โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
8. ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
9. ความสัมพันธ์ปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10. ผลการวิเคราะห์การพยากรณ์ของปัจจัยด้านคุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีอำนาจพยากรณ์ มีจำนวน 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุดได้ดังนี้ คือ ด้านการใช้ประสบการณ์วิจัย สื่อ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ด้านเทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลาย และด้านการใช้หนังสือ ตำราเรียน และสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้ และด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate, to compare, to find out the relationship, and predictive power between factors of English teachers’ quality and English instructional management for entering the ASEAN Community, and to establish the guidelines for developing factors of English teachers’ quality affecting English instructional management for entering the ASEAN Community of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, classified by major subjects, work experiences, school sizes. The samples consisted of 117 English teachers and 117 non- graduated major from 117 schools. Tool used to collect data was a 5-level rating scale questionnaire. Data analysis statistics were percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Scheffe’ s Method and Multiple Regression Analysis.
The results were as follows:
1. Factors of English teachers’ quality affecting English instructional management for entering the ASEAN Community of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 based on English teachers’ opinions, as a whole were at a moderate level.
2. The results from comparing English teachers’ opinions toward factors of teachers’ quality affecting English instructional management as perceived by English teachers with different subject majors, as a whole were different significantly at the .01 level.
3. The results from comparing English teachers’ opinions toward factors of teachers’ quality affecting English instructional as perceived by English teachers with different work experience, as a whole showed no differences.
4. When comparing a level of factors of English teacher quality affecting English instructional management classified by school size, as a whole was not different.
5. English instructional management for entering the ASEAN Community, as a whole was at a moderate level.
6. The results from comparing instructional management through the English teachers’ opinions with different major subjects, as a whole were different significantly at the .01 level.
7.-8. The results from comparing instructional management through the English teachers’ opinions with different work experience and school sizes toward instructional management, as a whole and each aspect showed no differences.
9. The relationship of factors of English teachers’ quality affecting instructional management based on teachers’ opinion had positive relationship of all aspects at a statistically significant of a .01 level.
10. The factors of English teachers’ quality affecting instructional management reported a predictive power of all four aspects which were ranked respectively from the best predictive power variables: research experience, teaching materials and innovation for developing students continuously, teaching technique and approaches, and the application of text books, and foreign Instructional media, and knowledge regarding the ASEAN community.
คำสำคัญ
คุณภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษKeyword
English teachers’ quality, English Instructional Managementกำลังออนไลน์: 76
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,459
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,658
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093