บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการ Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กและศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สรุปได้ 9 ด้าน
2. การประยุกต์ใช้กระบวนการ Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กดำเนินการตามกระบวนการ DMAIC คือ Define : D Measure : M Analyze : A Improve : I Control : C โดยได้จัดทำตัวชี้วัดทั้งหมด 21 ตัวชี้วัด
3. ผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานวิชาการ ปรากฏว่า คณะครูโรงเรียนโนนสูงพิทยาคมนำตัวชี้วัดที่ได้รับการคัดเลือกมาพัฒนาตามกระบวนการของ Six Sigma โดยจัดทำในรูปของโครงการปรากฏว่า ครูทั้ง 22 คน สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 100 ครูสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้สำเร็จจำนวน 22 เรื่อง และจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา จำนวน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด กิจกรรมพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน และกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า โครงการดังกล่าวทำให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน สถานศึกษามีความร่มรื่น สวยงาม และเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
Abstract
The purpose of this study was to study elements for academic administration of small sized school application of Six Sigma process for academic administration quality improvement for small sized schools and study the result of the quality improvement of academic administration under The Secondary Educational Service Area Office 24.
The results of the research were as follows:
1. the components of academic administration of small sized schools were summarized as 9 aspects.
2. Application of the Six Sigma Process to improve the quality of academic administration of small sized schools followed the DMAIC process as Define: D, Measure: M, Analyze: A, Improve: I, and C: control.
3. the result of the academic administration quality found that the teachers of Nonsong Pittayakom School brought the selected indicators to develop in accordance with the Six Sigma process by developing the project patterns and 22 teachers was successfully complete 22 classrooms research projects and develop learning resources in schools 100 percent and developed learning resources in 3 activities, namely library development, botanical garden, and development activities of Sufficiency Economy Learning Resources found that the project made the school a source of learning for students. The schools were beautifully landscaped and facilitated the teaching and learning activities of teachers and students.
คำสำคัญ
กระบวนการ Six Sigma, คุณภาพการบริหารจัดการ,งานวิชาการ และโรงเรียนขนาดเล็กKeyword
Six Sigma Process, Quality Administration, Academic Administration of Small Sized Schoolsกำลังออนไลน์: 40
วันนี้: 397
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,402
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093