บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์ 2) ร่างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์และ 3) ยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ระยะที่ 2 ร่างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์ และระยะที่ 3 ยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ อำนวยการ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ 60 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและประเด็นการสนทนากลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนงานด้านวิชาการ รองลงมา ได้แก่ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ
2. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) ปัจจัยนำเข้า 5) กระบวนการ 6) ผลผลิต 7) ข้อมูลย้อนกลับ และ 8) เงื่อนไขของความสำเร็จ
3. ผลการประเมินเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ มีความเป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to study the problems and guidelines of the academic administration of Prapariyattidham Schools under General Education Department (PSGED) in NCN. The samples composed of 60 school administrators, school deputy administrators in the academic affairs, and 12 experts. The instruments used for collectingNakhonchaiburin (NCN), 2) to draft and develop the Systematic Academic Administration Model (SAAM) of PSGED in NCN and 3) to confirm the SAAM of PSGED in NCN. This research consisted of 3 phases: the first phase; study the problems and guidelines of the academic administration of PSGED in NCN, the second phase; draft and develop the SAAM of PSGED in NCN, and the third phase; confirm the SAAM of PSGED inthe data were 5-level rating scale questionnaire, structured interview, and the issues of a focus group. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Content analysis was employed to analyze the qualitative data.
The research findings indicated that:
1. The problems of the academic administration of PSGED in NCN overall were at a high level. The highest mean score was academic planning. It was followed by researching for developing educational quality in school, education supervision, and the development and promotion of learning resources.
2. The components of the SAAM of PSGED in NCN consists of 8 components: 1) principal of the model 2) objective 3) method 4) input 5) process 6) product 7) feedback and 8) condition of success. and
3. The evaluation results on confirmation of the SAAM of PSGED in NCN revealed that the components of the model were advantageous, possible, appropriate and accurate at a high level.
คำสำคัญ
รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบ, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาKeyword
Systematic Academic Administration Model, Prapariyattidham Schools under General Education Departmentกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 567
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,572
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093