...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 232-241
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 987
Download: 158
Download PDF
แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Guidelines for Classroom Management in Learning Management for Quality Development of Learners 4.0 of Demonstration School, Chiang Rai Rajabhat University
ผู้แต่ง
ไพรภ รัตนชูวงศ์, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว, พูนชัย ยาวิราช, หาญศึก เล็บครุฑ, สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายการดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามสภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากรจำนวน 53 คน ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) สภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 12 คน และอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 3 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)  เพื่อหาแนวทางทางการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพการรวมของการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายมี 5 แนวทาง คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา (S-School Environment) 2) การบริหารจัดการ (A-Administration) 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (T-Teaching Process) 4) การสร้างอัตลักษณ์ของนักเรียน (I-Identity) และ 5) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (T-Teacher Professional Learning Community)

Abstract

ABSTRACT

The purpose of this research is (1) to study the state of classroom management in learning management for the development of learners 4.0 quality of the Chiang Rai Rajabhat University Demonstration There are 3 steps in conducting the research. Step 1: Questioning of classroom management in learning management for quality development of learners 4.0 of Demonstration School, Chiang Rai Rajabhat University School (2) to present the classroom management approach in learning management To improve the quality of learners 4.0 of the Demonstration School of Chiang Rai Rajabhat University Population: 53 administrators and teachers of Chiang Rai Rajabhat University Demonstration School Episode 2 In Depth Interview The condition of classroom management in learning management to develop you Image of 4.0 learners of the Chiang Rai Rajabhat University Demonstration School, 15 informants, administrators and teachers of Chiang Rai Rajabhat University Rajabhat University, including 12 students, 3 faculty members of the Faculty of Education, Step 3 Focus group discussion to find ways Management of classroom management in learning management for quality improvement of learners 4.0 of Chia Rajabhat University Demonstration School Profile Participants in the group discussion were 12 people, namely administrators and teachers of the demonstration school, Chiang Rai Rajabhat University.
The results of the study showed that
1. it was found that the integration of classroom management in learning management for the development of learners 4.0 quality of the Chiang Rai Rajabhat University Demonstration School was at a high level.
2. Guidelines for classroom management in Learning management to improve the quality of learners 4.0 of the Demonstration School of Chiang Rai Rajabhat University has 4 ways: 1) Environmental aspects of the school (S-School Environment). 2) Management (A-Administration) 3) Learning process (T-Teaching Process) and the creation of student identity (I-Identity) 4) Creating a professional learning society for teachers (T-Teacher Professional Learning Community)

คำสำคัญ

การบริหารจัดการชั้นเรียน, การจัดการเรียนรู้, ผู้เรียน 4.0

Keyword

classroom management, learning management, learners 4.0

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093