...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 211-222
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 334
Download: 154
Download PDF
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ
Criteria for Performance Quality Education Excellence of Schools in Nong Khai and Bueng Kan
ผู้แต่ง
กาณต์รวี รักขพันธ์ ณ หนองคาย, พา อักษรเสือ, มนูญ ศิวารมย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินการมี 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้กรอบแนวคิดในการวิจัย ได้ตัวแปรเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบจำลองเชิงสมมติฐานปัจจัยเชิงสาเหตุของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน (เลือกแบบเจาะจง) ระยะที่ 4 ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 520 คน จากสถานศึกษาจำนวน 56 แห่ง ระยะที่ 5 สรุปผลการวิจัย จัดทำข้อเสนอแนะ และนำเสนอรูปแบบเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ คุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (0.80-1.00) ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ (0.99) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า
1. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) ประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ จำนวน 6 ตัวแปร คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Students and stakeholders focus) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement analysis and knowledge management) การมุ่งเน้นครูและบุคลากร (Workforce focus) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน (Operation focus) ซึ่งมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษามากที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญ .01 คือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) มีค่าอิทธิพล 2.480 รองลงมา คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) มีค่าอิทธิพล .831 และน้อยที่สุด คือ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement analysis and knowledge management) มีค่าอิทธิพล .117 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญ .01 คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) มีค่าอิทธิพล 2.275 รองลงมา คือ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement analysis and knowledge management) มีค่าอิทธิพล .589 และน้อยที่สุด คือ การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Students and stakeholders focus) มีค่าอิทธิพล .088 
3. เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้ด้านคุณภาพการศึกษา พบว่าเป็นองค์ประกอบที่แท้จริงและมีคุณสมบัติใช้วัดคุณภาพการศึกษาได้เป็นอย่างดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 โดยคุณภาพการจัดการศึกษา เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุด ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (.946) อธิบายคุณภาพการศึกษาได้ ร้อยละ (ยอมรับ = 89, ไม่ยอมรับ = 11) รองลงมา คือ คุณภาพของการบริหารงานโดยใช้ภาวะผู้นำ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (.907) อธิบายคุณภาพการศึกษาได้ร้อยละ (ยอมรับ = 82, ไม่ยอมรับ = 18) และน้อยที่สุด คือ คุณภาพของกระบวนการปฏิบัติงาน น้ำหนักองค์ประกอบ (.807) อธิบายคุณภาพการศึกษาได้ ร้อยละ (ยอมรับ = 65, ไม่ยอมรับ = 35) 2) แนวทางพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา คือ การจัดสนทนากลุ่ม และลงภาคสนาม รวมทั้งให้ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งปันความรู้ในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

Abstract

ABSTRACT

The objectives of this research were : 1) to study criteria for performance quality education excellence of schools under the secondary educational service area office 21 (Nong Khai and Bueng Kan). 2) to study the guidelines of enhancing quality assurance in schools under the secondary educational service area office 21. There were 5 phases of doing this research : Phase 1 : rational, related theories and the research literatures were studied to perform the criteria for performance quality education excellence of school. Phase 2 : A causal relationship model of criteria for performance excellence of schools was created. Phase 3 : A causal relationship model of criteria for performance excellence of schools was checked and confirmed through Focus Group Discussion by 10 experts (purposive sampling). Phase 4 : A causal relationship model of criteria for performance excellence of school was studied through empirical information. The sample of the study were personnel taken from school directors, vice directors, teachers and basic education committees perform in schools under the secondary educational service area office 21 with the total of 520 people from 56 schools. Phase 5 : Conclusions, discussion and suggestions were made and a causal relationship model of criteria for performance excellence of schools were represented. The research tool used for the data collection was a set of questionnaires with five-rating scale of the total validity of 0.99 through the technics Index of I tem-Objective Congruence (IOC) between .80 - 1.00. The data were analyzed by the specific computer program.
The research findings found that
1. The criteria for performance excellence of schools under the secondary educational service area office 21 (Nong Khai and Bueng Kan) consisted of 6 causes variables which were Leadership, Strategic planning, Students and stakeholders focus, Measurement analysis and knowledge management, Workforce focus, and Operation focus respectively
2. The highest level caused variables that positive influencing directly to educational quality at the .01 level were Strategic planning (2.480), second to which was the Leadership (.831) and the least one was Measurement analysis and knowledge management (.117).  The highest level caused variables that influencing indirectly to educational quality at the .01 level were Leadership (2.275) second to which was Measurement analysis and knowledge management (.589) and the least one was Students and stakeholders focus (.088). 
3. The observed variables of educational quality were considering truly realistic and qualified elements at the .001 level which the highest level observed variables were The educational management quality (.946) had an average percentage (acceptable = 89, unacceptable = 11) second to which was The leadership management quality (.907) had an average percentage (acceptable = 82, unacceptable = 18) and the least one was Operation process quality (.807) had an average percentage (acceptable = 65, unacceptable = 35). (2) the guidelines of enhancing quality assurance in schools under the secondary educational service area office 21 were arrange focus group and field work in addition to have stakeholders and local community succeeding participate in educational focus and school management quality which sustained the development in Professional Learning Community (PLC).

คำสำคัญ

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศของสถานศึกษา

Keyword

Criteria for Performance Quality Education Excellence for Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093