บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 347 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 119 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 81 คน และครูผู้สอน จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ได้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านงบประมาณ (X8) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X7) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ (X5) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร (X1) สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 1.060 + 0.358 X8 + 0.142 X7 + 0.138 X5 + 0.081 X1 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.462 ZX8 + 0.189 ZX7 + 0.165 ZX5 + 0.102 ZX1
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านงบประมาณ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to examine the level of administrative factors and effectiveness of personnel management in schools under the Office of Secondary Education Service Area 22; 2) to compare administrative factors and the effectiveness of personnel management in schools as perceived by school administrators, heads of personnel management group and teachers with different position, school sizes, and work experience; 3) to find out the relationship between administrative factors and the effectiveness of personnel management in schools; 4) to identify the predictive power of administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools; and 5) to establish the guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools. The samples consisted of a total of 347 participants including 119 school administrators, 81heads of personnel management group and 147 teachers in schools under the Office of Secondary Education Service Area 22 in the 2017 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning school administrative factors and effectiveness of personnel management in schools. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrative factors as a whole and each aspect were at a high level.
2. The effectiveness of personnel management in schools as a whole and each aspect were at a high level.
3. The school administrative factors as perceived by school administrators, heads of personnel management group and teachers with different position, school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
4. The effectiveness of personnel management in schools as perceived by school administrators, heads of personnel management group and teachers with different school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, but there was not different in terms of position in overall.
5. The school administrative factors and the effectiveness of personnel management in schools, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.
6. The school administrative factors comprised four aspects. The three factors were able to predict the effectiveness of personnel management in schools at the statistical significance of the .01 level. The said factors comprised: budget (X8), participative management(X7) and organizational atmosphere and culture (X5). The factor which was at the statistical significance of the .05 level was personnel development (X1). The equation could be summarized in raw scores as follows; Y’ = 1.060 + 0.358X8 + 0.142X7 + 0.138X5 + 0.081X1 and the predictive equation standardized scores was Z’ = 0.462 ZX8 + 0.189 ZX7 + 0.165 ZX5 + 0.102 ZX1
7. The guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools involved four aspects: Personnel development, Organizational atmosphere and culture, Participative management and Budget.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลKeyword
Administrative Factors, Effectiveness of Personnel Managementกำลังออนไลน์: 97
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,010
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,209
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093