...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 116-125
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 479
Download: 161
Download PDF
สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ
Status, Problems and Guidelines for Developing Management in Private Schools Under Bungkhan Provincial Education Office
ผู้แต่ง
ขนิษฐา เผิ่งจันดา, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหัวหน้ากลุ่มงานบุคคลและครูผู้สอน, 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน, 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน, 4) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน และ 5) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอนของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 270 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนละ 1 คน จะได้ผู้บริหารสถานศึกษา 18 คน หัวหน้ากลุ่มงานบุคคลโรงเรียนละ 1 คน จะได้หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล 18 คน และครูผู้สอนจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก จำนวน 234 คน จาก 18 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การวิเคราะห์ค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples และสถิติการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ชนิด One-Way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหาร และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่าง มีความคิดเห็นต่อ สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ โดยรวมแตกต่างกัน
3. ผู้บริหาร และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผู้บริหาร และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่าง มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานบุคคล โดยรวมไม่แตกต่างกัน และปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ โดยรวมแตกต่างกัน
5. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในด้านการสรรหาบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการธำรงรักษาบุคคลและด้านการให้บุคคลพ้นจากงาน

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to study and compare the conditions, problems on personnel management in private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education as perceived by school administrators and teachers, classified by status, different work experience, and school sizes; and to establish the guidelines for developing personnel management. The 270 samples, obtained through Multi-stage Random Sampling, consisted of36administrators and 234teachers from 18 private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education in the academic year 2017. The instruments for collecting data were a questionnaire concerning conditions and problems on personnel management. Statistics used in analyzing data were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples) and F-test One -Way ANOVA.
The findings of the study were:
1. The conditions and problems on personnel management in private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education as a whole were at a high level.
2. The conditions and problems on personnel management in private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education as perceived by administrators and teachers as a whole were different.
3. The conditions and problems on personnel management in private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education as perceived by administrators and teachers with different work experience as a whole were not different.
4. The conditions on personnel management in private schools under the Office of Bungkhan Provincial Education as perceived by administrators and teachers with different school sizes as a whole were not different, except for the problems as a whole were different.
5. The guidelines for personnel development in private schools under the Office Bungkhan Provincial Education involved four aspects. 1) Personnel recruitment and selection process. The planning process of personnel recruitment and selection should be clearly developed. In addition, the selection methods should be considered acceptable by all those involved; 2) Personnel development should be planed annually in accordance with school needs and provide personnel opportunities to participate in the development plans; 3) Personnel retention. The school should create programs to increase motivation to build long-term commitment and loyalty among personnel, for example financial incentives; and 4) Dismissals. The schools should set up formal procedures for the termination of services and communicate clearly with perspective employees about the termination employment.

คำสำคัญ

สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคล, แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคล, โรงเรียนเอกชน

Keyword

Personnel Management, Private Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093