...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 106-115
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 641
Download: 163
Download PDF
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
Performance Of School Administrators That Affects The School Effectiveness Under The Secondary Educational Service Area Office 20
ผู้แต่ง
วัชพงษ์ อุ้ยวงค์, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, สุรพล บุญมีทองอยู่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ 5) หาแนวทางการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 355 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 63 คน และครูผู้สอน จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียนทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกมีค่า .25 ถึง .93 ความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .25 ถึง .96 ความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ด้านประสิทธิผลโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .25 ถึง .93 ความความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสัมพันธ์ของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า ตัวแปรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (x23) การมีวิสัยทัศน์ (x24) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (x11)
6. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย
6.1 แนวทางพัฒนา สมรรถนะประจำสายงาน มี 2 ด้าน ได้แก่
6.1.1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ควรส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเอง
6.2 แนวทางพัฒนา สมรรถนะหลัก มีจำนวน 1 ด้าน ได้แก่
6.2.1 ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรมีการจัดทำคู่มือพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มความสำเร็จของงานด้วยวิธีการที่หลากหลาย และมีการนิเทศ กำกับ ติดตามส่งเสริม สนับสนุน
6.2.2 การมีวิสัยทัศน์ ควรเป็นผู้นำในการกำหนดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นภาพของความสำเร็จ

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) The study of the performance of school administrators that affects the school effectiveness. 2) The compare performance of school administrators and school effectiveness. 3) The study relationship. 4) The study power of prophecy 5) The development. The samples used in the research were school administrators and teachers, years in 2560 about 355 people. The classified as 63 school administrators and 292 teachers. The instruments used to collect data the questionnaire about the performance of school administrators and school effectiveness. The value of the discriminative power ranged from .25 to .93, confidence equal .98. When considering each aspect, the performance of school administrators had a discriminative power of .25 to 96, confidence equal .97. The school effectiveness has a discriminative power of .25 to .93, confidence equal .95. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t–test (Independent Samples), F–test (One–Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The performance of school administrators and school effectiveness, as a whole and each aspect were at a high level.
2. The performance of school administrators by school administrators and teachers with different working position, school sizes, and work experience. as a whole were different at a statistical significance at the .01 level.
3. The school effectiveness, by school administrators and teachers with different working position, school sizes, and work experience. as a whole were different at a statistical significance at the .01 level.
4. The relationship performance of school administrators that affects the school effectiveness, by school administrators and teachers as a whole had a positive relationship at the statistical significance at the .01 level.
5. The school effectiveness there are 3 aspects that can the power of prophecy the school effectiveness. The statistical significance at the .01 level aspects: The development of personnel (x23), the Vision (x24), The aim of achievement (x11).
6. The development performance of school administrators that affects the school effectiveness has three aspects.
6.1 The development core competencies there are 1 aspects:
6.1.1 The aim of achievement, should develop a core management competency development guide has new innovations are used to increase the success of the work.
6.2 The development performance field of work there are 2 aspects:
6.2.1 The development of personnel, should encourage self-development personnel. With a variety of methods and supervise, monitor, support the development of personnel of the organization.
6.2.2 The vision, should be leaders in defining vision and use the participation process of all parties. This is a picture of success.

คำสำคัญ

สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Performance Of School Administrators, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093