...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 94-105
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 416
Download: 209
Download PDF
สมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Teacher Performance that Affects Learning Skills. School Students Under the Office of the Secondary Education Service Area 21
ผู้แต่ง
ชัยเมธี ใจคุ้มเก่า, ไชยา ภาวะบุตร, เทพรังสรรค์ จันทรังษี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เทียบสมรรถนะของครูผู้สอน และทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะของครูผู้สอนและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะของครูผู้สอนที่มีผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอน และทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. สมรรถนะของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน
และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. สมรรถนะของครูผู้สอน กับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. สมรรถนะของครูผู้สอนอย่างน้อย 1 ด้านมีอำนาจพยากรณ์ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมได้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ (X3) และด้านการพัฒนาตนเอง (X4)
7. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีจำนวน 2 ด้านที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย
ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Abstract

ABSTRACT

The purpose of this research to identify about teacher performance that affects learners learning skills under the office of the secondary education service area for comparing the performance of the teachers and the learners learning skills according to the opinion of school administrators and teachers 21 classified by status, school size and work experience. The total sample of 335 persons consisted of 90 school administrators, and 245 teachers. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation Independent Samples t-test, (One-way ANOVA) F-test, Pearson’s Product Moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.
The results of this research were as follows:
1. The school performance of teachers as perceived by school administrators and teachers under the office of the secondary education service area 21 was at the high level.
2. Learners learning skills as perceived by administrators and teachers under the office of the secondary education service area 21, was at the high level.
3. The school performance of teachers as perceived by school administrators and teachers under the office of the secondary education service area 21 with status, school size, and work experience showed difference and was at significantly different the 0.01 level.
4. The learners learning skills as perceived by school administrators and teachers under the office of the secondary education service area 21 with status, school size, and work experience showed difference and was at the significantly different 0.01 level.
5. There was a positive relationship between the school performance and the learners learning skills was at the significantly different 0.01 level.
6. The performance of teachers at least had the power prediction with learners learning skills under the office of the secondary education service area 21, according to the opinion of the school administrators and teachers were total at the significantly different 0.01 level for two factors such as evaluating the result of learning(x3) and self-development (x4)
7. This research was also proposed the guidelines for instructional leadership development of secondary school administrators in the two factors: such as self-development and evaluating the result of learning
 

คำสำคัญ

สมรรถนะของครู, ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน

Keyword

Instructional Leadership, Effectiveness of the Academic Affairs of Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093