...
...
เผยแพร่: 25 ก.ค. 2562
หน้า: 84-93
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 423
Download: 159
Download PDF
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Expectations of Stakeholders on the Desire of School Administrators in Educational Reform. Under the Office of the Secondary Education Service Area 21
ผู้แต่ง
ฐิติมา ทะเริงรัมย์, ไชยา ภาวะบุตร, เทพรังสรรค์ จันทรังษี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และเพศพร้อมทั้งเพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2560 รวมจำนวน 391 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 90 คน ครูผู้สอน จำนวน 155 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 56 คน และผู้ปกครองนักเรียน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ
(F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกตามสถานภาพ โดยรวม พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษมีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหาร ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to study the school administrators’ Desirable Characteristics in Education reform under Secondary Educational service area office 21,
2) to compare the school administrators’ Desirable Characteristics in Education reform under Secondary Educational service area office 21 on expectation of stakeholders as classified by the status of position, the difference school size, and gender. In order to develop the school administrators’ desirable characteristics in education reform under secondary educational service area office 21 The samples in this research consisted of 90 school administrators, 155 teachers, 56 chairman of education, 90 student's parent, totally 391 respondents in high school under Secondary Educational service area office 21 in academic year 2017. The research instrument was the school administrators’ desirable characteristics in education reform questionnaire. The statistics applied in data analysis were mean (\bar{x}), standard deviation (S.D), t-test, F-test and One way ANOWA Analysis.
The research findings were as follows:
1. The school administrators’ desirable characteristics in education reform under secondary educational service area office 21 on expectation of stakeholders were at a high level in overall and each aspect.
2. The school administrators’ desirable characteristics in education reform under secondary educational service area office 21 on expectation of stakeholders as classified by the status of position were significantly different at the .01 level in overall and each aspect.
3. The school administrators’ desirable characteristics in education reform under secondary educational service area office 21 on expectation of stakeholders as classified by the difference school size shows the following result: the opinion of school administrators, teachers, chairman of education and student's parent in the large school more than small school at 0.01 level of significance.
4. The school administrators’ desirable characteristics in education reform under secondary educational service area office 21 on expectation of stakeholders as classified by the gender were significantly different at the .01 level in overall and each aspect.
 5. The development of the school administrators’ desirable characteristics in education reform consist of academic leadership and ethics.

คำสำคัญ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ผู้บริหารโรงเรียน, การปฏิรูปการศึกษา, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Keyword

Desirable feature, School administrators, Education reform, Stakeholders

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093