บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุดรธานี 2) การเปรียบเทียบ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ 5) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุดรธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ชนิด One-Way ANOVA การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีวิเคราะห์ Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบ ตามสภาพการดำรงตำแหน่ง ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับที่ต่างกันที่มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. อำนาจพยากรณ์ ได้แก่ พฤติกรรม การบริหารของผู้นำ ปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียน ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน พฤติกรรมการสอนของครู
5. แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนเอกชน มีจำนวน 4 ปัจจัย ที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย
5.1 พฤติกรรมการบริหารของผู้นำ ควรกำหนดเป้าหมายและแนวทางของการพัฒนาประสิทธิผลในด้านต่างๆ ของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน ส่งเสริมให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ
5.2 ปัจจัยบรรยากาศ ควรมีความเป็นผู้นำทางวิชาการ ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนานวัตกรรม และนำไปใช้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
5.3 ปัจจัยคุณภาพชีวิต ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนการอบรมเพื่อพัฒนางานตนเองอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาวิชาชีพด้วยการฝึกอบรม ยกย่อง บุคลากรที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์
5.4 พฤติกรรมการสอนของครู ควรส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนา เพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียนด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นวัตกรรมที่หลากหลาย
Abstract
ABSTRACT
This research was study aims were: 1) The study administrative factors the effectiveness of private school administration under the basic education commission in Udon Thani Province. 2) The comparison 3) The study relationship 4) The study power are forecast 5) The find ways to developmental approach administrative factors the effectiveness of private school administration under the basic education commission in Udon Thani Province. The samples consisted were: administrators’ school and teachers Year 2560 totaled of 341 people. The instruments used in for data collection was a questionnaire administrative factors the effectiveness of private school administration under the basic education commission in Udon Thani Province. The statistics used for data analysis: percentage, mean, standard deviation One-way analysis of variance (F-test) of One-Way ANOVA, Pearson’s product moment correlation, multiple regression analysis to stepwise analysis using.
Findings were as follows:
1. The administrative factors the effectiveness of private school administration under the basic education commission in Udon Thani Province, at a high level,
2. The comparison classified according positions status, at word in schools at different levels, experienced in different tasks, overall difference was statistically significant at level .01
3. The relationship is a positive relationship. The statistical significance level .01.
4. The study predicted power include: The administrative behavior of leaders, the atmosphere factor, the quality of life, the teaching behavior.
5. The developmental approach of administrative factors the effectiveness of private school administration there are 4 factors that need to be developed include:
5.1 The administrative behavior of leaders, should set goals and guidelines for developing effectiveness in various areas. The school clearly. Encourage workshops.
5.2 The atmosphere factor, should have academic leadership. Encourage teachers to innovate and used in class to develop teaching and developing the potential of students.
5.3 The quality of life, should be encouraged to support the training. To develop their own work regularly. Professional development with continuing education training at the higher level, praise outstanding educational personnel who are outstanding.
5.4 The teaching behavior, should encourage teachers to be developed. To develop learners with critical thinking and analytical skills. The variety is emphasized.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนKeyword
Administrative Factors, School Administrative Effectivenessกำลังออนไลน์: 118
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,161
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,360
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093