...
...
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562
หน้า: 204-212
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 526
Download: 180
Download PDF
พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
Develop the school model administrative readiness to ASEAN quality of Schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations
ผู้แต่ง
พายุ วรรัตน์, ศิริ ถีอาสนา, สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน 3) ทดลอง/ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 584 คน ใช้วิธีการ การสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และการประเมินผลรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพสภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความพร้อมสถานศึกษา ด้านความสามารถของบุคคล และด้านเจตคติบุคลากร 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ควรมีรูปแบบการบริหารแบบ 4G คือ มีการบริหารจัดการที่ดี (Good internal process) บุคลากรที่ดี (Good person) สิ่งแวดล้อมที่ดี (Good environment) และมีเจตคติที่ดี (Good attitude) และ 3) ผลการทดลอง/ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้ง 4 ด้าน มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านเจตคติของบุคลากร  ด้านความพร้อมของสถานศึกษา และด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และด้านสิ่งแวดล้อม  ตามลำดับ

Abstract

The study was a research and development research which has been designed to develop the school model administrative readiness to ASEAN quality of schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations. The objectives of this research were to study problems and needs readiness to ASEAN quality, to develop the school model administrative for readiness to ASEAN quality, and to implement and evaluate the school  model administrative for readiness to ASEAN quality of schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations. The samples were 548, consisting of administrators, teachers, and students of the schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations. In-depth Interview, survey, Focus group discussion, and model evaluate were used as the instrument in this research work. Statistics used in data analysis were descriptive statistics and content analysis.

The research finding indicated that:

The factor of problems and needs readiness to ASEAN quality of schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations includes 4 components which were the environment, the availability of the school, the competence of person and the attitude of personnel. The finding also showed the 4G school model was identified as Good internal process, Good person, Good environment, and Good attitude. The finding of the implement and evaluate the school model administrative for readiness to ASEAN quality of schools under the Kalasin Provincial Administrative Organizations of 4 aspects revealed that at the overall, all four aspects were reported at high level, and each aspect could be ranked from high to low level as follows, the attitude of personnel, the availability of the school and the competence of person or capacity, and the environment.

คำสำคัญ

วิจัยและพัฒนา, รูปแบบการบริหาร, คุณภาพอาเซียน

Keyword

Research and Development, Administrative, Asian Quality

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093