...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 283-292
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1064
Download: 209
Download PDF
การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
School Administration based on Sufficiency Economy Philosophy of the Schools under the Bureau of Special Education Administration in the Northeastern Region
ผู้แต่ง
จารุรัตน์ ปลื้มชัย, ปณิธาน วรรณวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นข้าราชการครูที่มีต่อสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 โรงเรียนจำนวนข้าราชการครู 148 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกนแล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .226 - .361 ค่าความเชื่อมั่น .085 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ F-test (One-Way ANOVA) ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ข้าราชการครูเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารนารายด้านพบ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารบุคคล รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารวิชาการตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ได้แก่ ประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี ประสบการณ์ 5-10 ปี ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี  โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญคือ ควรสร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญในการสอนที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกำหนดวิธีการจัดสื่อ เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการ สำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา เน้นการนำปัญหาที่เกิดจากสภาพจริงมาแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา น้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในหลักสูตรสถานศึกษาอย่างเหมาะสม มีการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล รายงานแสดงการดำเนินงานตามแผนงานงบประมาณสถานศึกษา จัดทำเอกสาร เวปไซด์ ซีดี เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนให้ชุมชน และหน่วยงานอื่นได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ พัฒนาศักยภาพ ความรู้ของครูและตรวจสอบ ติดตามประเมินผล รายงานแสดงการดำเนินงานตามแผนงานงบประมาณสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the school administration based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP) of the schools under the Bureau of Special Education Administration (BSEA) in the Northeastern Region toward the teachers’ opinions, 2) to compare the opinions of the teachers toward the state of the school administration based onSEP of the schools under BSEA in the Northeastern Region classified by work experience, and 3) to study the suggestions for the schools administration based on SEP of the schools under BSEA in the Northeastern Region. The samples were 148 teachers under BSEA in the Northeastern Region in the academic year 2017. The sample size was determined according to Krejcie and Morgan’s tables. The research instruments were 5-rating scale questionnaires with the discrimination range between .226-.361 and the reliability of .850 and structured interview. The statistics were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by employing F-test (One-Way ANOVA).

The research results showed that:

1. The state of the school administration based on SEP of the schools under BSEA in the Northeastern Region toward the teachers’ opinions overall was at a high level. When considering each aspect, the highest mean scores were Personnel Administration. It was followed by the aspect of General Administration and Academic Affairs Administration, respectively.

2. The teachers who had different work experiences had the opinions toward the school administration based on SEP of the schools under BSEA in the Northeastern Region significantly different at the level of .05.

3. The suggestions for the school administration based on SEP of the schools under BSEA in the Northeastern Region: the schools should study, analyze and do the research about SEP in order to develop the instruction in a unit of Principles of SEP. The school should record the budget administration following SEP that is for the appropriate budget allocation based on SEP. The schools should have a plan for the teachers to share the knowledge about the principles of SEP together both in the schools and with other schools. That is for encouraging the teachers’ broad vision and be ready to change to SEP in the future. The schools should create documents, websites, and CDs then publish and promote the implementation of SEP in the schools to the community and other organizations regularly.

คำสำคัญ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหารสถานศึกษา

Keyword

Sufficiency Economy Philosophy, School Administration based

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093