บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ใน 240 โรงเรียน จำนวนทั้งหมด 466 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 144 คน และครูผู้สอน 322 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่มอร์แกนแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .534 - .867 ค่าความเชื่อมั่น .979 และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ t-test แบบ Independent Samples ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่สำคัญคือ ควรจัดอบรมให้ความรู้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ ควรอบรมพัฒนาให้ความรู้แก่ครูผู้สอนด้านการวัดผล ประเมินผลเพื่อพัฒนารูปแบบให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สร้างเครื่องมือเพื่อความหลากหลาย และควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลด้วย เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง ผู้บริหารจัดอบรมให้ครูผู้สอนเพื่อให้เห็นความสำคัญของ การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา เน้นการนำปัญหาที่เกิดจากสภาพจริงมาแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดทำและพัฒนาสื่อให้มีความหลากหลาย ทันสมัย มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน ผู้บริหารต้องศึกษาหลัก วิธีการและสร้างความเข้าใจแก่ครูผู้สอนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศการศึกษา ควรจัดอบรมเพื่อให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจในส่วนงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา
Abstract
This research aimed: 1) to study the level of the problems of the Academic Affairs administration in the schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 (CPM PESAO1) towards the teachers’ opinions, 2) to compare the opinions of the teachers towards the problems of the Academic Affairs administration in the schools under CPM PESAO1 classified by the position, and 3) to study the guidelines for developing the problems of the Academic Affairs administration in the schools under CPM PESAO1. The samples were the school administrators from 240 schools under CPM PESAO1 in the academic year 2017. They were 144 school administrators and 322 teachers. The sample size was determined according to Krejcie and Morgan’s tables with the total number of 466. The research instruments for collecting the data were the 5-rating scale questionnaires conducted by the researcher with the discrimination range between .534-.867 and the reliability of .979 and the structured interview. The statistics were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by using t-test (Independent Samples) and the content analysis was employed for analyzing the interview data.
The research results were as follows:
1. Teachers had the opinions on the problems of the Academic Affairs administration in the schools under CPM PESAO1 overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean scores were the measurement and evaluation and transfer of credits. It was followed by the aspect of school-based curriculum development, school internal assurance system, and the research for developing education, respectively.
2. The result of the comparison of the teachers’ opinions towards the level of the Academic Affairs administration in the schools under CPM PESAO1 classified by the positions as a whole was not different.
3. The guidelines for developing the Academic Affairs administration in the schools under CPM PESAO1 were: The school administrators should organize the training on school-based curriculum development in order to develop the effective curriculum. They should provide the training on the measurement and evaluation for the teachers so that they get the same concept including they are able to conduct the various assessment tools and they should collaborate with the guardians in the measurement and evaluation in concerning of the fact data. They should promote the training course for the teachers based on the research for developing education concerning the various methods in solving the problems. They should encourage the teachers to produce and develop the various types of modern media, promote the teachers to increase using media and technology to maximize the learners’ effectiveness. The school directors must know the principles, methods and how to create the understanding for the teachers to realize the importance of the supervision. And the school directors should provide the training for the teachers based on the school internal assurance to make them participate in the process.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการ, ข้าราชการครูKeyword
Academic Leadership School of Managementกำลังออนไลน์: 119
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,162
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,361
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093