บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาดัชนีดุลยภาพเชิงวิชาการสำหรับจัดการคุณภาพการศึกษา โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา จังหวัดชัยภูมิ โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้วิจัยได้อาศัยหลักการดัชนีดุลยภาพเชิงวิชาการ ของสำนักทดสอบทางการศึกษา (ETS) เป็นแนวทางในการพัฒนาดัชนีสำหรับมุมมองเชิงวิชาการที่สามารถดำเนินการได้ในเชิงปฏิบัติเพียง 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางวิชาการ การจัดโปรแกรมการศึกษา การเสริมสร้างเครือข่ายรวมถึงกระบวนการจัดสรรทุนการศึกษา และการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาประกอบด้วย นักเรียนและครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้ปกครองนักเรียนคณะกรรมการนักเรียนคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ การรวบรวมข้อมูลได้อาศัยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสนทนากลุ่มระเบียบวิธีการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เช่น วงจร Deming แผนผังคุมกำหนดงานการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การทำงานเป็นทีม การระดมสมองและการเทียบเคียงสมรรถนะ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้วิเคราะห์เอกสาร จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยอุปสรรคองค์กร การวิเคราะห์น้ำหนักเฉพาะของดัชนีเฉพาะและดัชนีมวลรวม การตรวจสอบความตรงเชิงประจักษ์และความตรงตามสภาพการณ์ของดัชนีดุลยภาพเชิงวิชาการกระบวนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1: การศึกษาความเป็นไปได้และพัฒนาแบบจำลองเชิงสมมติ ขั้นตอนที่ 2: การพัฒนาแบบจำลองชั่วคราวได้ดำเนินกิจกรรมตามแบบจำลองเชิงสมมติ ขั้นตอนที่ 3: การพัฒนาแบบจำลองขั้นสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
มุมมองด้านการบริหารจัดการองค์กรเพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางวิชาการ คือคุณลักษณะของผู้เรียน เท่ากับ 0.300 ด้านการจัดโปรแกรมการศึกษา การเสริมสร้างเครือข่ายรวมถึงกระบวนการจัดสรรทุนการศึกษาคือการเรียนรู้โดยอาศัยโครงการวิจัยเป็นฐานเท่ากับ 0.350 ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรคือ ผลงานด้านวิชาการของครูผู้สอนเท่ากับ 0.300 ความตรงตามสภาพการณ์ของดัชนีดุลยภาพเชิงวิชาการ เท่ากับ 0.872 สำหรับค่าน้ำหนักเฉพาะของดัชนีเฉพาะในมุมมองทั้งสามด้าน พบว่าค่าสูงสุด คือด้านการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (0.277) รองลงมาคือการจัดโปรแกรมการศึกษา การเสริมสร้างเครือข่ายรวมถึงกระบวนการจัดสรรทุนการศึกษา (0.253) และการจัดการองค์กรเพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางวิชาการ (0.230) ตามลำดับ
Abstract
This investigation aimed at development of an academic scorecard for educational quality management in KaengKhro Wittaya School participated in the World Class Standard School Project of the Ministry of Education. The author relies on the Educational Testing Service Academic Scorecard principles as a guideline for development focusing mainly on three academic perspectives which were practically accomplished in this R&D activities, i.e., organizational managements that response to academic stakeholders’ needs, educational program managements together with enhancement of networks and the process of allocating educational funds, and learning and potentiality development of school personnel.
The target group consisted of upper secondary education students, teachers, parents and guardians, student council members, school administrative committee, basic education school committee, and the academic expert team. Data collections were done by means of participant observations, focused group discussions, the TQM methods, e.g., the Deming Wheel(PDCA), Gannt chart, Pareto analysis, team working, brainstorming sessions and benchmarking. Documentary analysis, SWOT, hierarchical analysis process, and composite and local indices analysis techniques were utilized for data analyses. Verification of the developed academic scorecard validity was consecutively performed by means of apparent validity and concurrent validity.
The R&D process consisted of 3 phases. Phase I: The feasibility study and development of a hypothetical model. Phase II: Development of a tentative model. Phase III: Development of a finalized model.
The research findings found that:
The organizational managements perspective, the local weight for qualification of learners was 0.300. As concerns the educational program management and the potentiality development of school personnel perspectives; the one for the research-based learning and instructional method outputs was 0.350 and that for the teachers’ academic outputs was 0.300respectively. The calculated concurrent validity of the existing data was 0.872. The local weight of each perspectives’ index was ranked as follows: learning and potentiality development of school personnel (0.277), educational program management (0.253), and organizational managements which in accord with academic stakeholders’ needs (0.230).
คำสำคัญ
ดัชนีดุลยภาพเชิงวิชาการ, โรงเรียนมาตรฐานสากลKeyword
Academic Scorecard, World Class Standard Schoolกำลังออนไลน์: 77
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,772
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,971
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093