...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 255-262
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 3820
Download: 345
Download PDF
กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Strategies for Participatory Academic Administration in Basic Education Schools
ผู้แต่ง
ธัญณิชา ขันตี, ถวิล ลดาวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) หัวหน้าฝ่ายวิชาการ 3) ผู้แทนครู 4) ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.98

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพปัจจุบันของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย

2. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม 2) สร้างเกณฑ์การวัดผลประเมินผลเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ 3) พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ เพิ่มประสิทธิ ภาพการเรียน 4) ส่งเสริมและพัฒนาการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน 5) สร้างภาคีเครือข่ายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 6) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ 7) ส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Abstract

The purposes of the research were 1) to investigate the current conditions and desirable conditions of participatory academic administration in basic education schools, and 2) to development the strategies for participatory academic administration in basic education schools. The samples used in the research were 260
1) school administrators, 2) seads of academic affairs, 3) teacher representatives, and 4) the chairman of the Basic Education Commission. The research instruments were intervirew and   five-point Likert scale questionnaires with the overall reliability of 0.98.

The findings of the research indicated that;

1. On the whole, the desirable conditions of participatory academic administration in basic education schools seemed to be at the high level. In terms of the current conditions of participatory academic administration in basic education schools, it was found that on the whole, they seemed to be at the low level.

2. The strategies for participatory academic administration in basic education schools consisted of 7 strategies; that is, 1) Process Management Academy participant, 2) Establish measurable criteria to assess the quality of learning, 3) Development of Innovation and Technology Increase the effectiveness of learning, 4) Promotion and Development Planning, School Supervision 5) Create a network of partners and resources, 6) Encourage the development and management mechanism of teaching quality, 7) Promote the development of quality assurance systems within the school.

คำสำคัญ

กลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม

Keyword

Strategies, Participatory Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093