...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 237-246
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 669
Download: 224
Download PDF
ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Study of the Problems and Guidelines for Solving Academic Affairs Administration of Special Education (SPED) Schools under the Bureau of Special Education Administration (BSEA) in the Northeastern Region
ผู้แต่ง
รัชนีกร กุฎีศรี, ปณิธาน วรรณวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2560 ใน 10 โรงเรียน จำนวน 148 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .486-.900 ค่าความเชื่อมั่น .979 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ F–test แบบ One-Way ANOVA ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารวิชาการโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การนำหลักสูตรแกนกลางมาใช้ในสถานศึกษาควรจะต้องปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนเฉพาะความพิการแต่ละโรงเรียน การนิเทศการศึกษาควรมีการกำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ส่งเสริมให้ครูเข้าอบรมและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาจัดการเรียนรู้กับผู้เรียนครูจะต้องจัดสภาพห้องเรียนหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนคุณภาพโรงเรียนและจัดทำเอกสารให้เป็นปัจจุบัน มีการนิเทศติดตามอยู่เสมอ เพื่อนำปัญหาที่พบไปปรับปรุงแก้ไข การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

Abstract

This research aimed: 1) to study the level of the problems of the Academic Affairs administration in the Special Education (SPED) Schools under the Bureau of Special Education Administration (BSEA) in the Northeastern Region, 2) to compare the opinions of the teachers toward the problems of the Academic Affairs administration of the SPED Schools under BSEA in the Northeastern Region classified by work experience, and 3) to study the guidelines for developing the Academic Affairs administration in the SPED Schools under BSEA in the Northeastern Region. The samples were the 148 teachers from 10 SPED Schools under BSEA in the Northeastern Region in the academic year 2017. The sample size was determined according to Krejcie and Morgan’s tables. The research instruments were 5-rating scale questionnaires conducted by the researcher with the discrimination range between .486-.900 and the reliability of .979 and structured interview. The statistics for analyzing the data consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by employing F-test (One-Way ANOVA) and the interview data was employed content analysis.

The research results revealed that:

1. The teachers’ opinions toward the problems of the Academic Affairs administration of the SPED Schools under BSEA in the Northeastern Region in overall were a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean scores were school-based curriculum development. It was followed by the aspect of the supervision, the learning process development, education quality assurance, research and education development, respectively.

2. The result of the comparison of the opinions toward the problems of Academic Affairs administration classified by work experience overall was significantly different at the level of .05.

3. The guidelines for developing Academic Affairs administration of the SPED Schools under BSEA in the Northeastern Region: The implementation of the core curriculum should be adjusted to the context of the schools and the specific disability; the supervision should be directed continuously and systematically; encourage the teachers to continue their training for developing themselves and to apply the knowledge in their instructions; the teachers should set up the classroom condition or develop learning resources to facilitate their teaching; should strengthen the education quality assurance to empower the schools quality; should update the documents and supervise the teachers regularly in order to make use of the problems to find the solutions; should do the research for developing the education continuously.

คำสำคัญ

การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนการศึกษาพิเศษ

Keyword

Academic Affairs Administration, Special education

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093