...
...
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562
หน้า: 194-203
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 956
Download: 199
Download PDF
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
Guidelines for Education Management Development of Phrapariyattidhamma Schools in General Education Division
ผู้แต่ง
ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์, สัญญา เคณาภูมิ, ภัคดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษามีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 25 คน และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 280 คน ขั้นตอนที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิเคราะห์เนื้อหาจากขั้นตอนที่ 1 และจากการสรุป จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการวิเคราะห์เทคนิค Swos และ สรุปการวิจัยโดยใช้เทคนิค Swos Matrix แล้วจัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาขั้นตอนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโดยมีผู้เชี่ยวชาญที่ประสบการณ์และมีความรู้ จำนวน 24 คนเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ถูกต้องสมบูรณ์สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยใช้เกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2553)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาด้านโครงสร้างองค์การยังขาดระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีโครงสร้างการบริหารงานที่ไม่สอดคล้องทันต่อสถานการณ์ยุกต์โลกาภิวัตน์ขาดการอำนวยความสะดวกต่อการบริหารงานไม่มีระเบียนแบบแผนที่เอื้อต่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ด้านบุคลากรส่วนใหญ่มีรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในสภาพสังคมปัจจุบัน ขาดความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ เนื่องจากยังไม่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานของรัฐที่มั่นคงและที่สำคัญบุคลากรสอนไม่ตรงกับสายวิชาชีพของตนเอง ด้านเทคโนโลยีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานั้นส่วนมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการจึงทำให้งานในระบบเทคโนโลยียังไม่ดีเทียบกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบไอทีในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนอย่างมีระบบ และด้านวัฒนธรรมองค์กานั้นวัฒนธรรมยังไม่มีระบบการยกย่องและส่งเสริมคนเก่ง คนดีมีคุณธรรมให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม  ยังขาดระบบการปลูกจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ขาดการอบรมให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเสียสละและการปลูกจิตอาสาพัฒนา

2. สภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาด้านโครงสร้างองค์การมีปัญหาการบริหารจัดที่มีศักยภาพไม่ทันต่อยุคสมัยใหม่ เป็นโครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการที่เป็นองค์กรแห่งความเข้มแข็งสู่ความเป็นเลิศ ด้านบุคลากรมีปัญหาบุคลากรสมองไหลมีการเปลี่ยนบุคลากรบ่อยเนื่องจากมีการลาออกเพื่อไปทำงานในหน่วยงานที่มีความมั่นคงและมีรายได้สูงกว่า ด้านเทคโนโลยีมีปัญหาบุคลากรขาดความเชี่ยวชาญทักษะในการสอน เพราะขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีงบประมาณน้อยในด้านการพัฒนาระบบไอที ด้านวัฒนธรรมองค์การขาดการส่งเสริมในด้านวัฒนธรรมที่เหมาะสม ควรมีการปรับทัศนะคติให้เหมาะสมตามกาลสมัยที่สมดุล

สรุปแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการบริหารราชการ ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนระดับโครงสร้างของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งระบบทั่วประเทศ มีการประสานความร่วมมือและแนวทางการมีส่วนร่วมทุกทุกภาคส่วนเพื่อความเป็นเอกภาพและเป็นการพัฒนาเครือข่ายที่ยั่งยืนและมั่นคง ผู้จัดการ /เจ้าอาวาสวัด ควรตระหนักถึง ความรับผิดชอบในการให้การสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ในปกครองของตน อันเป็นการสืบทอด และจารึกไว้ซึ่งพระศาสนา ควรเสนอเพิ่มงบประมาณในส่วนสื่อเทคโนโลยีให้ทันสมัยต่อยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

2. ด้านการบริหารงบประมาณ ภาครัฐควรมีการจัดงบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการในการจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณเพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ดี โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ส่งเสริมครู ในการอบรมเทคนิคใหม่ที่ทันสมัยต่อการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร ทีมีคุณธรรม จริยธรรมในการครองสมณเพศและเรียนเก่ง

3. ด้านการบริหารบุคคล ภาครัฐควรมีการบรรจุตำแหน่งครูให้แก่บุคลากรทางการศึกษาทางโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพพร้อมทั้งได้รับสวัสดิการต่างๆ เหมือนหน่วยงานอื่นๆ ควรบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าธุรการ วัสดุอื่นๆ มาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว และเป็นลดภาระครูและเป็นเหตุให้ครูมีเวลาเต็มที่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจัดสรรครูที่มีวุฒิตรงกับสาขาของวิชาที่ทำหน้าที่สอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และให้เกิดประโยชน์ยั่งยืนแก่ผู้เรียน มีงบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ ที่สนับสนุน และอำนวยความสะดวก ในด้านการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

4. ด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการแสดงผลความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับภาครัฐและเอกชนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบริบทต่อสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ให้มีบรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพและตระหนักด้านการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ทุกรูปแบบ เพื่อให้ชุมชน เอกชน ภาครัฐ ได้ทราบถึงแนวนโยบาย และผลงานและด้านการจัดการเรียนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

Abstract

This research was the study of education management of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division under the following objectives: (1) to study current conditions and problems of education management of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division, and (2) to provide the guidelines for education management development of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division.

The research process was divided into three phrases: the research objective at the first phrase was to survey fundamental data from related research documents, to conduct in-depth interviews with twenty-five persons involved with nationwide Phrapariyattidhamma schools in General Education Division and to collect quantitative data from related 280 persons. The research objective at the second phrase was to develop the guidelines for education management development of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division by analyzing the data collected at the first phrase,Swos and  Swos Matrix including the data after the conclusion of the outstanding points, the points to be developed and the guidelines to be improved, and creating the guidelines for education management development of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division. The research objective at the third phrase was to assess appropriation of the guidelines by 24 experienced and qualified experts. They were credited to assess the guidelines for education management development of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division appropriate and perfect to be implemented under the criteria defined by BonhamSrisa-ard. (2553: 10) 

The research findings were as follows:

1. The current conditions on education management of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division were found that, in terms of the organizational structure, the good management system was not found available and the administration structure was not found in accordance with current situations in globalization. It was also found without the administration convenience and the administrative practice suitable for development efficiency. In terms of the personnel, most of them were found not to make both ends meet in current situations and they were found without stability in their lives and progress in their occupations because they were not posted as state officials. Importantly, teachers were found not to teach in line with their teaching profession. In terms of technology, most of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division were found to have the insufficient budget for administration; therefore, the technological system was not so up-to-date as other institutions’ systems, and IT personnel were found not available. As well, in terms of the organizational culture, the promotion of good and well-behaved personnel, the system of good conscience cultivation on social responsibility and the training on sacrifice and volunteering development were not found available. 

2. The problems on education management of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division were found that, in terms of the organizational structure, the efficiency of education management was found not to accord with situations in the modern age and the school’s structure was found unsuitable for administration of excellent organization. In terms of personnel, the problem of brain drain or human capital flight was frequently found available because some personnel resigned for seeking new stable jobs with higher earnings. In terms of technology, IT personnel were found without teaching skills because of lack of specific expertise and a low budget for IT system development. In terms of the organizational culture, it was found not to be promoted properly and the attitude towards the organizational culture should be improved proper in time.

The conclusions of the guidelines for Education Management Development of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division in four aspects were as follows:

1. In terms of the academic administration, the policies should be distinctly set as the nationwide identical system at the structure of high-ranking executives. The co-operation and participation of all the parts should be operated for the unity and the development of sustainable and stable networks. The abbots as the temple managers should recognize responsibilities for supporting monks and novices under their own government on education. Such responsibilities for the abbots were regarded as inheritance and inscription of Buddhism. Besides, an increase of a budget for the up-to-date technology should be proposed to improve efficiency of the school’s learning and teaching. 

2. In terms of the budget administration, the state budget should be allotted more enough to meet the demand of learning activities under the standard criteria, and the school’s executive committee should be promoted to participate in the learner-centered budget administration for better achievement. Besides, the school administrators should allot the budget to support and promote teachers with training on modern learning techniques and provide more scholarships for good and vitreous monks and novices.

3. In terms of personnel administration, teachers and educational personnel of Phrapariyattidhamma schools in General Education Division should be officially granted an appointment for stability and progress in occupations, including various welfare programs, as the same to other agencies. Other supplies officers and general service officers should be granted an appointment to perform such duties and to reduce the burden of teachers, who should pay attention to spend their time on learning and teaching activities. Fully qualified teachers should be assigned to teach the required subjects for highest efficiency and sustainable advantages. The budget should be allotted more sufficient to meet the demand of purchasing instructional materials for Phrapariyattidhamma schools in General Education Division.  

4. In terms of general administration, the school administrators and educational personnel should set distinct policies to express the consequences of co-operation and participation with public and private sectors for the student’s learning support and the organization’s highest advantages. They should show their visions to develop the school’s environment for learning and to create the good atmosphere for learning; and they should recognize public relations in various forms of media in order to announce communities, private and public sectors the policies and consequences on learning.

คำสำคัญ

การพัฒนาการจัดการศึกษา

Keyword

Guidelines for Education Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093