...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 216-226
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 300
Download: 182
Download PDF
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
The Development of Learning Management in the Master of Education Program in Educational Management at the College of Education, Dhurakij Pundit University
ผู้แต่ง
พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล, กล้า ทองขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาระหว่างเรียน สาขาการจัดการการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษ ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างเรียนตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระหว่างเรียน 2 รุ่น ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และผู้บังคับบัญชาของนักศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณลักษณะและสมรรถนะตามหลักสูตรที่จำเป็นต้องมีและได้รับการพัฒนา ได้แก่ ความรับผิดชอบในวิชาชีพ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ความรู้ลึกซึ้งทางการจัดการศึกษาและความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง อาจารย์ผู้สอนเห็นว่า นักศึกษาแม้จะมีพื้นฐานประสบการณ์แตกต่างกันมากแต่มีพัฒนาการสูงขึ้น สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาของนักศึกษาที่เห็นว่า นักศึกษาสามารถริเริ่มและนำนวัตกรรมการจัดการมาใช้ในสถานศึกษา

2. ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษที่กำหนดไว้ในหลักสูตร คือ นักศึกษาต้องเป็นผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม ผู้บังคับบัญชาเห็นว่านักศึกษามีคุณลักษณะดังกล่าวสูงอยู่แล้ว มีข้อเสนอให้เพิ่มการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับความเห็นของอาจารย์ผู้สอน โดยต้องการให้เพิ่มการพัฒนาทักษะการสืบค้นผลงานวิจัยจากต่างประเทศให้มากขึ้น

3. ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ พบว่า นักศึกษามีทักษะด้านความรู้สูงที่สุด รองลงมาคือทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะด้านการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามลำดับ (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างเรียนพบว่า วัตถุประสงค์โครงสร้างและสาระการเรียนรู้ส่วนใหญ่ตรงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนกิจกรรมของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ได้แก่ การเรียนรายวิชาปกติ รายวิชาสัมมนา รายวิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ สารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ที่ออกแบบและนำไปปฏิบัติส่วนใหญ่มีความเหมาะสม แต่บางส่วนมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

Abstract

The research aims to investigate results of the development of characteristics of students during their study in the Educational Management Program as required by the curriculum, results of the development of special characteristics, learning outcomes outlined by the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF), and guidelines for students’ development regarding learning management during their studies in the Master of Education Program in Educational Management. The subject of this research includes two batches of Master’s students who were taking courses in the Educational Management Program, educational administrators, instructors, and the students’ supervisors. Data was collected through a questionnaire, together with structured and in-depth interviews, and it was analyzed by using mean, standard deviation, and content analysis. Results suggest that characteristics and competencies of the students outlined in the curriculum requirements consist of professional responsibility, innovation leadership in education, intimate knowledge in the field of educational management, and abilities in continual self- and professional development. Instructors agree that the students’ development was at a high level in spite of their different background knowledge and experiences. Such comments are compatible with statements from supervisors regarding the way that the students were able to initiate innovation in educational management and apply it in educational institutions.  Additionally, as for skills and special characteristics of the students which are required by the curriculum, the results indicate that the students need to have moral courage, the spirit of a teacher, as well as leadership and teamwork skills. The students’ supervisors typically view that the students actually possessed all those characteristics already and should, therefore, improve their English for better communication skills instead. This is also compatible with comments from instructors stating that the students should develop skills for researching studies from international journals. As for learning outcomes by TQF, the results show that the students achieve the highest level in the domain of knowledge, followed by the domains of interpersonal skills and responsibility, analytical and communication skills, respectively. Regarding the guidelines for the students’ development of learning management during their time studying in the program, the learning objectives, structure, and contents of the courses mostly matched the needs of the students sampled. Learning activities according to the learning management process as required by the curriculum, such as regular courses, seminars, professional practice, independent study, and thesis, are mostly considered suitable for teaching and learning, except for some of them that need to be improved.

คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตร, ผลการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093