บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 230 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 23 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 23 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .40-.97 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที t-test (Independent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
3. สภาพ และปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามสถานภาพ ไม่มีความแตกต่างกัน
4. สภาพ และปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ไม่มีความแตกต่างกัน
5. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. การบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21 2) การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรได้รับการพัฒนาโดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย
Abstract
The purposes of this research were to investigate, compare, and establish the guidelines for developing 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23. The 230 samples consisted of 23 school directors, 23 academic school deputies, and 184 head of learning departments under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher with a discrimination between .40-.97 and a reliability of .94. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One way ANOVA).
The results of this research were as follows:
1. The states of 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 was at the high level in overall.
2. The problems of 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 was at the medium level in overall.
3. The states and problems of 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 specified by status was not different.
4. The states and problems of 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 specified by work experience was not different.
5. The states and problems of 21st century learning management in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 specified by school size was significantly different at the .01 level in overall.
6. The 21st century standards and assessment, the 21st century teachers’ development and the 21st century environments are 3 factors of 21st century learning management in schools should be developed and the researcher has proposed the guidelines for developing in this research.
คำสำคัญ
การบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Keyword
21st Learning Managementกำลังออนไลน์: 110
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,150
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,349
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093