บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านการดำเนิน งานเลขานุการ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 54 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นผู้วิจัยและทีมงานเลขานุการในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต ปี ค.ศ. 2017 จำนวน 11 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจาก 10 แผนก และหัวหน้าหน่วยงานจำนวน 43 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือปฏิบัติงานเลขานุการ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์แบบบันทึกการนิเทศภายในแบบประเมินผล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุม แนวทางในการพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาด้านการดำเนินงานเลขานุการ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า
1.1 สภาพในการดำเนินงานเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ปัญหาในการดำเนินงานเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มผู้ร่วมวิจัยดำเนินการตามแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีส่วนช่วยให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานเลขานุการเพิ่มขึ้นผลการศึกษาดูงาน พบว่า กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพมีความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานในหน้าที่เลขานุการเป็นอย่างมาก เพราะได้รับความรู้ด้านการเสริมสร้างบุคลิกภาพ เทคนิคการสื่อสาร และแนวทางในการดำเนินงานวิชาการของเลขานุการ รวมถึงการปฏิบัติงานในหน้าที่เลขานุการด้านต่างๆ ทำให้กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ เทคนิค วิธีการที่จะทำให้การดำเนินงานเลขานุการ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผลการนิเทศภายใน พบว่า หลังการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพทั้ง 10 คน มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับงานเลขานุการ มากยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเลขานุการเป็นอย่างมาก
Abstract
The objectives of this research were 1) to investigate conditions and problems on secretarial operations at Savannakhet Teacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic, 2) to establish the guidelines for developing secretarial personnel, and 3) to follow up the potential development of secretarial personnel. The target group involved 54 participants including the researcher and ten co-researchers working in secretarial positions at Savannakhet Teacher Training College. The 43 informants included10 Heads of Departments and 43 Unit Heads. This action research employed the two spirals of four phases of planning, action, observation, and reflection. The instruments used in this research were a handbook for secretaries, a questionnaire, a test, an observation form, an interview form, an internal supervision form, an evaluation form, a satisfaction assessment form and meeting records. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and the percentage point progress.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems on the potential development of secretarial personnel at Savannakhet Teacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic revealed that:
1.1 In terms of conditions, secretarial operations as a whole were at a moderate level.
1.2 The problems on secretarial operations as a whole were at a high level.
2. The proposed guidelines for potential development of secretarial personnel involved three means: 1) a training workshop, 2) a study tour, and 3) an internal supervision.
3. The effects after the intervention found that:
3.1 After the training workshop, the co-researchers gained better knowledge and understanding on secretarial work of 42 percent.
3.2 After the study tour concerning personality enhancement, communication techniques, the guidelines for secretarial operations, and secretarial task performances, the ten co-researchers obtained better understanding on self and professional performances and knowledge on techniques and approaches to effective secretarial work at the highest level.
3.3 The results based on the internal supervision revealed that: The ten co-researchers gained better knowledge, understanding and skills on secretarial work and were able to perform tasks effectively. This can be concluded that the action research for potential development of secretarial personnel at Savannakhet Teacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic, helped co-researchers improve individual potential secretarial work effectively. As a result, all parties concerned satisfied with the performance of the secretarial personnel.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพ, เลขานุการKeyword
Personnel potential development, Secretarial Positionกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 586
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,591
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093