...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 51-60
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 319
Download: 173
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Development of Teacher Potential on Learning Experience Management for Creative Thinking Enhancement of Preschool Children in Mariephithak School sunder the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
จันทร์เพ็ญ บุษบา, ไชยา ภาวะบุตร, ชรินดา พิมพบุตร

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 13 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 28 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ ในแต่ละวงรอบ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินการไปศึกษาดูงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาของครูปฐมวัยในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ครูปฐมวัยไม่มีความมั่นใจ ขาดการพัฒนาตนเองในด้านการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และขาดความเข้าใจในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จึงส่งผลให้ครูปฐมวัยจัดประสบการณ์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางในการพัฒนา 3 แนวทาง 1) การประอบรมปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน 3) การนิเทศภายในแบบชี้แนะ และในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศแบบประชุมเชิงนิเทศ

3. การติดตามผลการพัฒนาครูปฐมวัยในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่าดำเนินการเป็น 2 วงรอบในวงรอบที่ 1 นั้นสามารถพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ แต่ยังพบว่าบางส่วนยังไม่เป็นที่พอใจ ในการดำเนินกิจกรรมบางกิจกรรมเกินความสามารถของเด็กไม่มีความเหมาะสม และเนื้อหาสาระไม่ต่อเนื่องกัน ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ดำเนินการประชุมกันอีกครั้งเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ถึงจุดที่ยังบกพร่อง และเปิดโอกาสให้ทุกท่านเสนอแนะถึงข้อที่ควรแก้ไข ที่จะนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมใช้การนิเทศภายใน โดยการสังเกตและสอบถาม ผลปรากฏว่าครูปฐมวัย ทั้ง 12 คน สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์และนำแผนนั้นไปทำการจัดประสบการณ์การสอนได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.26 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 23.82

Abstract

The objectives of this research were to: 1) examine conditions and problems of teachers in managing learning experience for creative thinking enhancement of preschool children in Mariephithak School sunder the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2, 2) To establish the guidelines for developing teacher potential in managing learning experience for creative thinking enhancement of preschool children, and 3) To follow up the effects after the intervention. The target group consisted of 13 co-researchers including the researcher and 28 informants. The research was conducted with two spirals of action research, consisting of four stages: planning, action, observation and reflection. The research instruments are the work shop pre and post-tests, Interview forms, assessment forms, behavior observation form, assessment forms for learning experience plans, creative thinking assessment forms, supervision forms, and assessment forms on a study visit. Quantitative data analysis used percentage, mean and standard deviation. Content analysis classifies content and present descriptive data for qualitative data analysis.

The research findings were as follows:

1. The problems of preschool teachers in managing learning experience for creative thinking enhancement of preschool children in Mariephithak Schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 revealed that teachers did not feel adequately trained and confident to employ the learning experience for students’ creative thinking enhancement into practice. The teachers also reported a lack of knowledge and understandings in managing learning experience for students’ creative thinking enhancement.

2. The guidelines for developing preschool teachers to enhance preschool children creative thinking based on mutual options and action plans, in the first spiral, involving three approaches: 1) a workshop 2) a study visit, and 3) a coaching supervision. The second spiral was then conducted through the supervision conference.

3. The effects after the intervention found that the two spirals of action research were implemented. In the first spiral, teachers gained knowledge and understanding in writing learning experience plans for creative thinking enhancement. However, there were reports of dissatisfaction with the designed activities. For example, teachers performed certain activities, but beyond the capacity of the students’ abilities. In other words, the activities implemented were inappropriate. The contents of the learning experience plans were also discontinued. Therefore, the researcher and co-researchers set up a meeting to analyze the defects and to provide suggestions to refine the learning experience in need of improvement. The internal supervision was then implemented through observation and a set of questionnaires. The results revealed that all teachers were able to write the learning experience plans and put them into practice appropriately and effectively with the percentage of 71.26 and the percentage of progress of 23.82.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, ความคิดสร้างสรรค์, ครูปฐมวัย

Keyword

Teacher Development, Creative Thinking, Preschool Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093