บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างานระบบดูแลนักเรียน และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 318 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 32 คน หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 32 คน และครู จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41- .80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Product Moment Coefficient และการวิเคราะห์สมการพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยการบริหารตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของ ผู้บริหาร หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของ ผู้บริหาร หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านเงิน สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 28.4 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.257
7. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถานศึกษา ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านเงินโดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย
Abstract
The purposes of this research were to investigate, compare, determine the relationship and predictive power and establish the guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of school’s student caring and assisting system. The samples consisted of 32 administrators, 32 leader of school’s student caring and assisting system and 254 teachers in schools of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher which had discrimination between .41-.80 with reliability at .95. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, F-test (One way ANOVA), Pearson’s product moment coefficient and Stepwise multiple regression analysis.
The results revealed that
1. Management factors as perceived by executives. The supervisors of the student and teacher support system were at a high level.
2. Implementation of Student Support System Management's view The supervisors of the student and teacher support system were at a high level.
3. Management factors as perceived by the administrators, supervisors, students and teacher support system classified by school size as a whole. Are different Statistically significant at the .05 level.
4. Management factors as perceived by administrators, supervisors, student and teacher support systems, by working experience as a whole and Every side No difference.
5. Management factors that are positively correlated with the performance of the student support system. At the .01 level of significance
6. Management factors that affect the operation of the student support system are 2 factors: money management can predict the operation of the student support system. At the .01 level, with the predictive power. 28.4% and standard error of ± 0.257
7. Management factors that affect the operation of student support system should be developed in two areas: money management. The researcher has proposed a development approach.
คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนKeyword
administrative factors, student support systemกำลังออนไลน์: 86
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,782
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,981
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093