...
...
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562
หน้า: 151-162
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 465
Download: 184
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน โรงเรียนพระราชทานบ้านหนองหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Development of Teachers’ Potential in Learning Management To Solve The Students’ Problems On Reading And Writing At Phraratchatan Ban Nong Moo School Under The Office Of Mukdahan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
ชาญวุธ แสงฤทธิ์, ไชยา ภาวะบุตร, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน และ 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) การสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยมีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือครูผู้สอน 4 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูวิชาการโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนพระราชทานบ้านหนองหมู จำนวน 3 คน นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสอบถาม การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนรู้ ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ แต่มีความรู้ความเข้าใจในทักษะกระบวนการ วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ทางโรงเรียนได้ทำการสอนซ่อมเสริมด้านการอ่านและการเขียนกับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน แต่ไม่เป็นระบบ และขาดความต่อเนื่อง สำหรับปัญหาในการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน พบว่า ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ขาดเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และขาดความต่อเนื่องในการติดตามกำกับดูแลเอาใจใส่นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ปัญหาด้านตัวนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่สนใจด้านการอ่านและการเขียนอย่างจริงจัง และขาดความสนใจในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ทันสมัยและไม่ตรงกับสิ่งที่นักเรียนสนใจ 

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน 3) การนิเทศภายใน. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน พบว่า ครูจำนวน 4 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียน ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 ทำให้ครูสามารถเตรียมใช้แผนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ส่วนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนจำนวน 16 คน ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน สามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้องร้อยละ 100

Abstract

The purposes of this action research were to 1) investigate the conditions and problems about learning to solve the problems on reading and writing of students, 2) seek for guidelines of the development of the teachers’ potential in learning management to solve the problems on reading and writing of students, and 3) follow up and evaluate the development of teachers’ potentiality in learning management to solve the problems on reading and writing of students. Participatory action research of 2 spirals comprising 4 stages : planning, action, observation and reflection was employed. The population comprised the researcher group consisting of the researcher and 4 teachers as the co-researchers. The informants included the school academic teachers, 3 teachers, 16 students with reading and writing problems a total of 38 participants. Data were collected by a interview, an evaluation form, a form of observation and a set of questionnaires. The analysis of quantitative data was done through mean, percentage and standard deviation. Qualitative data were analyzed by Content Analysis.

The findings of this study were as follow:

1. The condition in learning management; teachers do all the lessons by Child-center approach, but the students still less understand in process skills, the learning plans and the solution in reading and writing skills of the students were still not so good and enough to held any learning activities. For students; there were found that the learning achievement was quite low and the way to improve the students’ reading and wring skills was unsystematic and discontinuous. For the problem in learning approach in order to improve the students’ reading and writing skills found that some teachers are not teaching along with their field of study in Thai subject, do not have new teaching technique, and discontinuously in following the students who have the problem with their reading and writing. For the students themselves; found that they did not pay attention in improving their reading and writing skills and lack of attention in attending any activities that are out of date and do not go alo.

2. The guideline on the development of the teachers’ potential in learning management to solve the problems on reading and writing of students were composed of these means: 1) a study tour 2) a workshop 3) internal supervision

3. The effects of the development of the teachers’ potential in learning management to solve the problems on reading and writing of students showed that all of the 4 teachers gaining knowledge, understanding, skill, process and were able to construct to write suitable plans of learning management at 100 percent. This made the teachers be able to prepare themselves plans of learning management to promote for students’ reading and writing, it was found that the problems encountered by the 16 students on reading and writing problems were solved. They all could read and write 100 percent correctly.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้

Keyword

Teachers’ Potential Development, Learning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093