...
...
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562
หน้า: 138-150
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 439
Download: 184
Download PDF
สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Conditions, Problems and Guidelines for developing Personnel Administration in Schoosl under the Office of Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
นิภาดา พรมเมือง, ละม้าย กิตติพร, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครู ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 90 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล จำนวน 45 คน ครู จำนวน 196 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเอฟ F-test (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ scheffe’s 

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพของการบริหารงานบุคคลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาของการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาของการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครู จำแนกตามประสบการณ์ โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

4. ผลการเปรียบเทียบสภาพของการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาของการบริหารงานบุคคล พบว่าโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ที่มีสภาพต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม และมีปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง 

Abstract

The purpose of this research aimed to 1) investigate the conditions, problems and guidelines for developing personnel administration in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23, 2) compare the conditions, problems on school personnel administration based on the opinions of school administrators, heads of personnel administration section and teachers, classified by different work experience and school sizes, and 3) established the guidelines for developing personnel administration in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23. The samples were 331 participants including 90 school administrators, 45 heads of the personnel administration section and 196 teachers.  Tools used to collect data were a 5-level rating scale questionnaire and a form of interview. Statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through F-test (One-way ANOVA), and Scheffe’s Pairwise Comparisons of Means.

The findings were as follows:

1. The conditions of personnel administration in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23, as a whole and each aspect, were at a high level. The problems, as a whole were at a moderate level.

2. There were no significant differences resulting from the comparison between the conditions and problems of personnel administration, as perceived by school administrators, heads of the personnel administration section, and teachers, in general and in particular.

3. There were no significant differences resulting from the comparison between the conditions and problems of personnel administration, as perceived by school administrators, heads of the personnel administration section, and teachers with different work experience, in general and in particular.

4. There were no significant differences resulting from the conditions of personnel administration, as perceived by school administrators, heads of the personnel administration section, and teachers with different school sizes, in general and in particular. The problems of personnel administration, as a whole and each aspect were significantly different at the .01 level.

5. The improvement of the following aspects was required in order to ensure the appropriate guidelines for developing personnel administration: a workforce plan and position identification aspect, which had below- average level of conditions and above- average level of problems.

คำสำคัญ

การบริหารงานบุคคล

Keyword

School Personnel Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093