บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 4) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์
ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่ายางวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.21 - 0.30 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 -0.29 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.811 3) แบบวัดพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.970 4) แบบประเมินความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีพัฒนาการสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.67, 8.50, 10.64, 11.71 และ 13.00 ตามลำดับ
4. พฤติกรรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.85, 7.44, 8.75, 10.22 และ 11.05 ตามลำดับ
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare the mathematical problem solving ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and think-pair-share technique between before and after learning, 2) compare mathematical learning behaviors of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and think-pair-share technique between before and after learning, 3) study the development of problem solving ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and think-pair-share technique, and 4) study the changes of mathematical learning behaviors of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and think-pair-share technique. The sample consisted of 33 students of eighth grade, Thayang Wittaya School under the Phetchaburi Secondary educational Service Area Office, The second semester of academic year 2023, by purposive sampling. Research instruments were: 1) lesson plans, 2) mathematical problem solving ability test (p = 0.21 - 0.29, r = 0.21 - 0.30, reliability = 0.811), 3) mathematical learning behaviors test (reliability = 0.970), 4) mathematical problem solving ability assessment form (IOC = 0.67 -1.00), and 5) mathematical learning behaviors observation form (IOC = 0.67 - 1.00). The data were analyzed by using mean, analysis, standard deviation, t - tests, and content analysis.
The results of the study revealed that:
1. Mathematical problem solving ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and Think – Pair - Share technique is higher than those before at the .05 level significance.
2. Mathematical learning behaviors ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using SSCS teaching model and Think – Pair - Share technique is higher than those before at the .05 level significance.
3. Mathematical problem solving ability of students from 5 assessments showed a trend of improvement with average 7.67, 8.50, 10.64, 11.71 and 13.00, respectively.
4. Mathematical learning behaviors ability of students from 5 assessments showed a trend of improvement with average 5.85, 7.44, 8.75, 10.22 and 11.05, respectively.
คำสำคัญ
รูปแบบการสอน SSCS, เทคนิคเพื่อนคู่คิดKeyword
SSCS model, Mathematical problem solvingกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 495
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,689
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093