...
...
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562
หน้า: 127-137
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 517
Download: 205
Download PDF
ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Factors of Emotional Quotient of School Administrators Affecting School Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
อวัสฎา นาโสก, สายันต์ บุญใบ, ชรินดา พิมพบุตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น ด้านการมีทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน และระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 

2. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน และระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม แตกต่างกัน

3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน และระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โดยรวม ตกต่างกัน

4. ความฉลาดทางอารมณ์ โดยภาพรวมและรายด้านกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านการมีทักษะทางสังคม ซึ่งตัวแปรทั้งสามมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 47.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±.24156

6. แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า มี 3 ด้านที่นำเสนอแนวทางพัฒนา ประกอบด้วย ด้านการมีทักษะทางสังคม ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น

Abstract

The purposes of this study were to compare relationship and the prophets Emotional intelligence of managers and effective management of the school Compare the relationship and the forecast Factors of Emotional Quotient of School Administrators Affecting School Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 The sample consisted of President basic school administrators and teachers. 333 people The tools used to collect data scales five levels. It is divided into five areas.  The motivating himself. The motivating himself. To understand the emotions of others.  The social skills the statistical was analyzed are percentage, mean, standard deviation. The Hypothesis testing was used t-test, F-test (One way ANOVA), pearson product-moment correlation and stepwise multiple regression analysis.

The results of the study were as follows:

1. The emotional intelligence of School Administrators. Effectiveness Administration under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman The overall level

2. Emotional Quotient of School Administrators.  Effectiveness Administration under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman The overall difference

3. Emotional Quotient of School Administrators. Effectiveness Administration under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman Working in schools with different sizes. The overall difference

4. The effectiveness of the Administration Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman At a high level

5. The effectiveness of the Administration Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman The overall difference

6. The effectiveness of the Administration Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman Administrators and teachers Working in schools with different sizes. The overall difference

7. Emotional Intelligence and the overall effectiveness of the school's chairman of basic education. Administrators and teachers Effectiveness Administration under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman A relationship positive The level of statistical significance. 01.

8. Variables that could predict the effectiveness of the school Overall, Effectiveness Administration under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 Based on the idea of management Teachers and Education Committee Chairman A There was a statistically significant level. 01 Variable with the best predictive power The social skills These three factors are the 47.10 percent forecast And a standard error of prediction ± .24156.

9. The development of emotional intelligence of School Administrators Effectiveness Administration Under the Office of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 There were three aspects of the proposed guidelines Include The social skills The emotional  self-awareness To understand the emotions of others

คำสำคัญ

ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093