...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 405-413
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 25
Download: 3
Download PDF
การบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
Human resource management in the digital age of secondary school Under the Secondary Educational Service Area Office Sisaket Yasothon
ผู้แต่ง
เกรียงไกร ดวนใหญ่, ประกาศิต อานุภาพแสนยากร, สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง
Author
Kriangkrai Duanyai, Prakasit Arnupharbsaenyakorn, Surasak Srikrajang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัล จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน 3) ปัญหาและแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 20 คน และครู 331 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนของสถานศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ใช้สถิติการวิเคราะห์ การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ รองลงมา คือ 
ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรบุคคล 
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมพบว่าด้านตำแหน่งมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ด้านระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน และด้านขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 
3. ปัญหาและแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่าปัญหาส่วนมาก ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาจัดอบรมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีพร้อมทั้งโน้มน้าวครูให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
 

Abstract

This research study was to study the state of human resource management in the digital age. Comparison of opinions of school administrators and teachers on human resource management in the digital age, classified by position and educational level. and school size. and study problems and approaches to human resource management in the digital era of schools under the Secondary Educational Service Area Office Sisaket Yasothon. The sample group used in this research was 20 school administrators and 331 teachers using the stratified random sampling method according to the proportion of the school. The sample group was 351. The research instrument was a questionnaire with an index of consistency (IOC) between 0.60 and 1.00 and a reliability of 0.93. The statistics used for the analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Analytical statistics, the 
t - test, the F - test, and the double - difference test were used by the Scheffe method to compare the differences between the variables.
The results of the research were as follows:
1. The state of human resource management in the digital age of secondary school Under the Secondary Educational Service Area Office, overall at a high level. 
2. The area with the highest average is compensation and welfare , followed by human resource development and human resource recruitment and selection .The results of the comparison of opinions of the school administrators and the teachers opposed to human resource management in the digital age of secondary school Under the Secondary Educational Service Area Office, classified by positions, found that the overall was statistically significant at 0.01 of significance, while classified by education level, there was no difference, and school size found that the overall was statistically different at 0.01 of significance. 
3. Problems and guidelines for developing Human resource management in the digital age of secondary school under the Secondary Educational Service Area Office, Sisaket Yasothon found that teachers lack knowledge and understanding of technology in education. Development guidelines for school administrators should include Online training to develop teachers' knowledge 

คำสำคัญ

การบริหารทรัพยากรบุคคล, ยุคดิจิทัล, โรงเรียนมัธยมศึกษา

Keyword

Human Resource Management, The Digital Age, Secondary School

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093