...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 395-404
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7
Download: 1
Download PDF
การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
Study the condition and management guidelines for Digital Citizenship Development of students in school under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
พเยีย พิศผล, ธีระ ภูดี, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Payia Pissaphon, Theera Phoodee, Ratchadaporn Ngoyphoothon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 368 คน จำแนกเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน 169 คน และครู จำนวน 199 คน จาก 199 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.84 ถึง 0.99 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการที่เน้นพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์กร ด้านการควบคุม ด้านการนำ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการวางแผน
2. แนวทางการบริหารจัดการที่เน้นพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า
2.1 ด้านการางแผน มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 2.1.1 โรงเรียนกำหนดเป้าหมายผลสำเร็จของการพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลทั้งเป้าหมายรายปีและเป้าหมายระยะยาว 2.1.2 วางแผนปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2.1.3 วางแผนพัฒนาครูทุกระดับชั้นให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2.1.4 วางแผนการประเมินผลสำเร็จของการใช้หลักสูตรอย่างเป็นรูปธรรมและนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2.2 ด้านการนำ มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 2.2.1 มีกิจกรรมส่งเสริมกระตุ้นความสนใจและจูงใจให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล 2.2.2 มีการกำหนดนโยบาย ที่สอดคล้องกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลไปใช้ 2.2.3 มีการกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอพัฒนาครูทุกระดับชั้นให้มีทักษะการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยให้ผู้เรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ 2.2.4 มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการ POLC

Abstract

The purposes of the research were to Study the condition and management guidelines for Digital Citizenship Development of students in school under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3.The research subject were school directors and Teacher in school  under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3.of 368 individuals, consisting of 169 school directors and 199 Teacher personnel from 199 schools, The data collection tool was a questionnaire with a discriminant validity ranging from 0.84 to 0.99 and a reliability value of 0.99
The findings were as follows:
1. The purposes of the research were to 1) Management conditions that emphasize the development of digital citizenship of students under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 are overall at the highest level. When considering each aspect, it was found to be at the highest level in every aspect. The average values can be ordered from highest to lowest as follows. Organizational aspect Controlling, leading, and the aspect with the lowest average was planning.
2. to Management guidelines that focus on developing digital citizenship of students under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 found that
2.1 In terms of planning, there are guidelines for development follows: 2.1.1 The school sets goals for the achievement of developing students to become digital citizens, both annual goals and long-term goals. 2.1.2 Plan to improve the school curriculum in line with digital citizenship goals.  2.1.3 Plan to develop teachers at all levels to have knowledge, attitude, and learning 
management skills that emphasize digital citizenship. 2.1.4 Plan a concrete evaluation of the success of using the curriculum and use the evaluation results to develop and improve the curriculum to be up-to-date.
2.2 In terms of leadership, there are guidelines for development as follows: 2.2.1 There are promotional activities to stimulate interest and motivate students to develop 
into digital citizens. 2.2.2 There is a policy set. that is consistent with digital citizenship to use 2.2.3 There is regular supervision and monitoring to develop teachers at all levels to have 
skills in using modern teaching media to enable learners to be complete digital citizens. 2.2.4 There is continuous work development using the POLC process. 

คำสำคัญ

การบริหารจัดการ, ความเป็นพลเมืองดิจิทัล

Keyword

Management, Digital Citizenship

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093