บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจําเป็นในการสร้างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 471 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ .908 และ .916 ตามลำดับ ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยศึกษาข้อมูลจากสถานศึกษา ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จำนวน 38 โรงเรียน ยกร่างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวม 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม วิสัยทัศน์ และการคิดสร้างสรรค์
2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล
และเนื้อหาประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 ด้านวิสัยทัศน์ Module 2 ด้านการคิดสร้างสรรค์ Module 3 ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม และ Module 4 ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมรายด้านก่อนใช้โปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The current aims of this research are: 1) To study the conditions that often require and demand innovative leadership programs for teachers and education in order to raise the quality of students at the research study area center. Mukdahan Education 2) To develop a program to strengthen innovative leadership of teachers and educational personnel in order to raise the quality of learners. Mukdahan Primary Educational Service Area Office 3) To study the results of using the program to enhance innovative leadership of teachers and educational personnel in order to raise the quality of students. Mukdahan Primary Educational Service Area Office Using research methods divided into 2 phases: Phase 1 studies the current condition. Desired condition and the need to strengthen the innovative leadership of teachers and educational personnel. Under the Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The sample group includes educational institution administrators. and 471 teachers under the Mukdahan Primary Educational Service Area Office were obtained by determining the sample size using Crazy and Morgan's tables. (Krejcie & Morgan) then simple random the research instrument used was a rating scale questionnaire. There is a confidence value of the current condition test. and desirable conditions were equal to .908 and .916, respectively. Phase 2 developed a program to strengthen innovative leadership of teachers and educational personnel. Under the Mukdahan Primary Educational Service Area Office. Information providers include experts through purposive selection. The tools used in the research were an interview form and a form to evaluate the suitability and feasibility of the program. Statistics for data analysis include mean, standard deviation. and the index of essential needs and Phase 3: Study the results of using programs to enhance innovative leadership of teachers and educational personnel to raise the quality of students. Mukdahan Primary Educational Service Area Office By studying information from educational institutions which has best practices (Best Practices) of 38 schools, drafting an innovative leadership strengthening program and submitting it to experts for review and evaluate the program to enhance innovative leadership by 7 experts.
The research results found that
1. Current condition of innovative leadership of teachers and educational personnel to raise the quality of learners. Mukdahan Primary Educational Service Area Office, including 4 areas. To a lesser extent, the side with the highest average is Creating an atmosphere of innovative organization as for the condition. Desirability of innovative leadership of teachers and educational personnel to raise the quality of learners. Mukdahan Primary Educational Service Area Office. Overall it was at a high level. The area with the highest average was Creativity and the need to develop innovative leadership among school administrators Arrange needs from highest to lowest. These include creativity, vision, teamwork and participation. and creating an atmosphere of innovative organization
2. The program to strengthen innovative leadership under the Primary Educational Service Area Office consists of 1) principles and importance, 2) objectives, 3) content, 4) activities, and 5) measurement and evaluation. And the content consists of 4 modules, namely Module 1 on vision, Module 2 on creative thinking, Module 3 on teamwork and participation, and Module 4 on creating an atmosphere of an innovative organization. The results of the overall program evaluation were appropriate at the highest level.
3. The results of using the program to strengthen innovative leadership of teachers and educational personnel to raise the quality of students. Mukdahan Primary Educational Service Area Office Overall, each aspect before using the program was at a moderate level and after using the program at the highest level
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, นวัตกรรมการศึกษาKeyword
Innovative Leadership, Educational Innovationกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,530
จำนวนครั้งการเข้าชม: 400,023
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093