...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 360-371
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7
Download: 3
Download PDF
ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Digital Skills of Administrators And Teachers Affecting The Effectiveness Of Learning Management In Schools Under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
ลักคณา ทิสานนท์, ไชยา ภาวะบุตร, วรกัญญาพิไล แกระหัน
Author
Lakkhgana Tisanon, Chaiya Pawabutr, Worrakunyapilai Kaerahun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 329 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 124 คน ครูผู้สอน 205 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามระดับทักษะดิจิทัลของผู้บริหาร มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.501 – 0.860 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .956 และแบบสอบถามระดับทักษะดิจิทัลของครู มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.613 - 0.830 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.889 และแบบสอบถามระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.536 - 0.853 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, One - Way ANOVA ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครู พบว่า ทักษะดิจิทัลของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และทักษะดิจิทัลของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครู พบว่า ทักษะดิจิทัลของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับทักษะดิจิทัลของครู จำแนกตามสถานภาพดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ
4. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพดำรงตำแหน่ง โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน
5. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครู มีจำนวน 5 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ทักษะดิจิทัลของผู้บริหาร 3 ด้าน คือ ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้งานอินเตอร์เน็ตและสืบค้นข้อมูล ทักษะการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัลและนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์และทักษะดิจิทัลของครู 2 ด้าน คือ ทักษะการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ทักษะการสร้างและคิดค้นนวัตกรรมสื่อดิจิทัล โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 55.80 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของพยากรณ์เท่ากับ ±.27286
7. แนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะดิจิทัลของผู้บริหาร 3 ด้าน คือ ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้งานอินเตอร์เน็ตและสืบค้นข้อมูล ทักษะการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัลและนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ และทักษะดิจิทัลของครู 2 ด้าน คือ ทักษะการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ทักษะการสร้างและคิดค้นนวัตกรรมสื่อดิจิทัล

Abstract

This research aimed to compare, identify, and determine the predictive power of examining the digital skills of administrators and teachers that affected the effectiveness of learning management in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The research sample consisted of 329 participants, including 124 school administrators and 205 teachers, obtained through multi-stage random sampling. The data collection tools were 5 -point rating scale questionnaires for assessing administrators’ and teachers' digital skills. Administrators’ ratings ranged the discriminative power from .501 to .860, with the reliaility of .956, while teachers’ ratings ranged the discriminative power from .613 to 830, with the reliability of .889. The set questionnaire on the effectiveness of learning management in schools showed ratings of the discriminative power from .536 to .853, with the reliability of .971. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing was analyzed through t - test, One - Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The interview forms concerning guidelines for developing digital skills of administrators and teachers that affected the effectiveness of learning management in schools were also employed. 
The research results revealed that:
1. The digital skills of administrators and teachers, overall and in each aspect, were rated at a high level. 
2. The effectiveness of learning management in schools was overall at a high level.
3. The digital skills of administrators, classified by positions, school sizes, and work experience, exhibited significant differences overall at the .01 level of significance. Similarly, the digital skills of teachers showed significant differences overall at the .01 and .05 levels of significance, respectively.
4. The effectiveness of learning management in schools, as perceived by participants with different positions, overall showed no differences, but when comparing school sizes and work experience, overall differences were observed.
5. The digital skills of administrators and teachers and the effectiveness of learning management in schools showed a moderately positive relationship, reaching the .01 level of significance. 
6. The digital skills of administrators and teachers, comprising five aspects, could predict the effectiveness of learning management in schools at the .01 level of significance. Among these aspects, administrators demonstrated proficiency in three skills: Computer usage, Internet and information searching proficiency, and Using a creative program application for digital media creation and innovation. Teachers also exhibited expertise in two skills: Communication and online collaboration, and digital media and innovation creation. These digital skills showed the predictive power of 55.80 percent, with the standard error of estimate of ±.27286.
7. Guidelines for enhancing the digital skills of administrators and teachers that affected the effectiveness of learning management in schools comprised five aspects. As mentioned earlier, administrators’ digital skills involved three aspects, while teachers' digital skills were represented by two aspects

คำสำคัญ

ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารและครู, ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้

Keyword

Digital Skills, Effectiveness of Learning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093