บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 331 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางตารางเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเป็นบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์
อยู่ในระดับ สูง (r = 0.73)
4. ผลการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ พบว่า มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ วัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล การมีวิสัยทัศน์ การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ได้ดีถึงร้อยละ 66
Abstract
This study investigated the relationship between digital era leadership of school administrators and the organization of educational quality assurance systems in schools within the Nong Bua Lamphu primary educational service area office 1. The research explored four key areas: (1) the current level of digital era leadership among school administrators; (2) the organization of educational quality assurance systems within the schools; (3) the correlation between digital era leadership and the organization of these systems; and (4) the predictive power of
digital era leadership on the organization of educational quality assurance systems. A sample of 331 teachers, determined using the Krejcie and Morgan table and selected through proportional stratified random sampling, completed a rating scale questionnaire and Index of Item - Objective Congruence 0.60 - 1.00 Reliability Cronbach Alpha 0.96. Data analysis involved frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficients, and stepwise multiple regression.
This study found that
1. The digital leadership of educational administrators is at a high level overall.
2. The organization of the educational quality assurance system within the educational institution is at a high level overall.
3. The relationship between the digital leadership of educational administrators and the organization of the educational quality assurance system within the educational institution is positive in all aspects, with statistical significance at the 0.01 level and a high relationship (r = 0.73).
4. The analysis of the predictive power found that there were 5 components: digital learning culture, vision, teamwork and participation, and the creation of a learning network that could jointly predict the organization of the educational quality assurance system within the educational institution at a rate of 66 percent.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ระบบประกันคุณภาพการศึกษาKeyword
Digital era Leadership, School Administrators, Educational Quality Assuranceกำลังออนไลน์: 11
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,525
จำนวนครั้งการเข้าชม: 400,018
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093