บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิดระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิด 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิด 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.41 - 0.67 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.38 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21 - 0.77 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 4) แบบสังเกตความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ร่วมกับคำถามปลายเปิดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare the mathematical reasoning ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using the 4Ex2 instructional model and open-ended questions before and after learning, 2) to study the changes in mathematical reasoning ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using the 4Ex2 instructional model and open-ended questions, and 3) to compare the mathematical achievement of students being taught by organizing mathematics learning activities using the 4Ex2 instructional model and open-ended questions against the 70 percent criterion. The subjects were fifth -grade students of Wang Klai Kang Won School in the second semester of academic year 2023, one room consisted 39 students by simple random sampling. Research instruments were 1) learning management plan using 4E x 2 instructional model and open-ended questions, 2) mathematical reasoning ability test, (p = 0.41 - 0.67, r=0.27 -0.67, reliability = 0.82), 3) mathematics achievement test, (p = 0.38 - 0.79, r = 0.21 - 0.77, reliability = 0.90, and 4) mathematical reasoning ability observation form. The data were analyzed by using mean, standard deviation, t-test, and content analysis.
The results of the study revealed that
1. Mathematical reasoning ability of students being taught by organizing mathematics learning activities by using 4Ex2 instructional model and open-ended questions were higher than those before at the .05 level of significance.
2. Mathematical reasoning ability of students being taught by organizing mathematics learning activities by using 4Ex2 instructional model and open-ended questions showed a positive change.
3. Mathematical achievement of students being taught by organizing mathematics learning activities by using 4Ex2 instructional model and open-ended questions were higher than the 70 percent criterion at the .05 level of significance
คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2, คำถามปลายเปิด, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนKeyword
4Ex2 Instructional Model, Open-ended Questions, Mathematical Reasoning Ability, Learning Achievementกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 1,161
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,654
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093