บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 2) หาแนวทางความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษามีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมทั้งสิ้น 770 คน จาก 154 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 2 เป็นการยกร่างแนวทาง และระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ใช้การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ด้านกระบวนการจัดการ 3) ด้านผู้ปฏิบัติงาน
2. แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ชื่อแนวทาง 2) หลักการของแนวทาง 3) วัตถุประสงค์ของแนวทาง 4) องค์ประกอบของแนวทาง องค์ประกอบของแนวทางมี 5 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านผู้ปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการจัดการ และด้านความรู้และทักษะดิจิทัล 5) วิธีการดำเนินการประกอบด้วย 15 ประเด็น 60 ระบบ/กลไกปฏิบัติ 38 กิจกรรม และ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ
3. การประเมินแนวทางในภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด พิจารณารายประเด็น 3 อันดับแรกที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ครูและบุคลากรในสถานศึกษามีการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2) สถานศึกษามีการประเมินผลและปรับปรุงการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และ 3) สถานศึกษามีกระบวนการจัดการด้านการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลที่ดีและมีคุณภาพ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความรู้และทักษะดิจิทัล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านกระบวนการจัดการและด้านผู้ปฏิบัติงาน ตามลำดับ
Abstract
The objectives of this research were 1) Study the current situation, desired conditions, and necessary requirements for becoming a digital organization. 2) To study the guidelines for digital organization. 3) To assess the guidelines for digital organization in educational institutions. The research consists of three phases: Phase 1: Studying the current situation, desired conditions, and necessary requirements for the development of digital organizations in educational institutions. The sample for this phase includes school administrators and teachers, totaling 770 individuals from 154 schools. The research method used is a survey. Phase 2: Analyzing data to develop strategies for the digital transformation of educational institutions. This phase involves two steps. Step 1 involves a multiple -case study with three target schools, using semi-structured interviews. Step 2 involves formulating the strategies. Phase 3: Evaluating the strategies using a group discussion approach to determine consensus. The target group for this phase includes nine experts, and the research methods used are group discussions and surveys.
The research findings are as follows:
1. The current situation and desired conditions for becoming a digital organization are at a high level. The top three areas in terms of necessary requirements for digital transformation are 1) information technology, 2) process management, and 3) human resources.
2. The strategies for the digital transformation of educational institutions consist of five components: 1) the strategy name, 2) the principles of the strategy, 3) the objectives of the strategy, 4) the components of the strategy, and 5) the implementation methods, including 15 issues, 60 systems/mechanisms, 38 activities, and 5 success criteria. 3. The overall evaluation of the strategies places the highest importance on three key aspects: 1) teachers and staff in schools collaborating and assisting each other, 2) schools assessing and improving their operations for efficiency, and 3) schools having processes in place for transitioning to a quality and digital era. The evaluation also considers suitability, feasibility, and overall benefits, with a strong focus on the areas of digital skills and competencies, information technology, organizational culture, process management, and staff engagement.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, องค์กรดิจิทัล, สถานศึกษาKeyword
Development Guidelines, Digital Organization, Educational Institutionกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 1,113
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,606
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093